ระบบในการขนส่งสินค้า(Logistics System)

Monday 2 March 2009

Global Positioning System (GPS)
GPS ได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อตรวจสอบการใช้งานยานพาหนะให้อยู่ในขอบเขตภารกิจที่กำหนด โดยใช้เทคโนโลยีกำหนดตำแหน่งบนพื้น โลกด้วยดาวเทียม ซึ่งให้ข้อมูลการเดินทางต่าง ๆ แสดงเส้นทางที่ใช้ ตำแหน่งที่จอดบนแผนที่ แสดงกราฟความเร็วของยานพาหนะ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนเสร็จสิ้นภารกิจ ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลมาบริหาร วิเคราะห์ ตรวจสอบ หรืออ้างอิง สามารถนำเสนอข้อมูลได้หลายรูปแบบ เช่น แสดงบนแผนที่ดิจิตอล ในมาตราส่วนต่าง ๆ คือ 1:4,000 ใน กทม. และ 1: 50,000 ทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย แสดงกราฟ หรือจัดพิมพ์รายงาน ข้อมูลต่าง ๆ ถูกเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ PC หรือ Server สามารถค้นหาข้อมูลได้ตามต้องการ โดยสามารถจัดทำรายงานต่างๆเช่น


รายงานเดินรถประจำวัน (Excel) ,รายงานการใช้ความเร็วเกินกำหนด ,รายงานสะสมระยะทางรายเดือนของรถรายงานสะสมระยะทางรายเดือนของพนักงานขับรถ, รายงานสรุปใบงาน ,แสดงเส้นทางการเดินทางและจุดจอดบนแผนที่ ,กราฟความเร็ว (รูปแบบของ Tacho Graph)


ระบบจัดการคำสั่งซื้อ (Order Manage ment System : OMS)
จด กลุ่มคำสั่งซื้อตามลูกค้า และลำดับความสำคัญ แจกจ่ายสต็อกสินค้าตามแหล่งคลังสินค้า และสร้างวันกำหนดส่งตามสัญญา โดยปกติ OMS มักจะอยู่ภายใต้ระบบ ERP


ระบบจัดการการขนส่ง (Transportation Management System: TMS)
รับ คำสั่งซื้อจาก OMS ยืนยันวันกำหนดส่ง กำหนดตัวผู้ขนส่ง และสร้างตารางเวลาการรับสินค้าและจัดส่ง ก่อนที่จะส่งคำสั่งซื้อไปที่ระบบจัดการคลังสินค้า เมื่อคำสั่งซื้อถูกส่งต่อไปแล้ว ขั้นตอนถัดไปคือ การเตรียมความพร้อมสำหรับบรรจุหีบห่อ และจัดส่ง ระบบ TMS จะติดตามการจัดส่ง การชำระค่าเดินทาง และประสิทธิภาพของผู้ส่ง ซึ่งไม่ว่าคุณจะส่งทางรถบรรทุก เครื่องบิน หรือเรือก็ตาม ระบบ TMS จะสร้างเอกสารที่ประกบติดไปกับสินค้าจนถึงปลายทาง


โปรแกรมจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management System - WMS)
เป็น ระบบโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการบริหารระบบคลังสินค้าทั่วไป ที่รับสินค้า เก็บสินค้า และกระจายสินค้า ระบบโปรแกรมประกอบด้วย ระบบงานหลัก 3 ระบบ คือ การรับสินค้า (Receiving) การจัดเก็บสินค้า (Storage) และการส่งมอบสินค้า (Delivery)


การส่งมอบสินค้า เป็นการส่งสินค้าให้ลูกค้า ซึ่งเป็นข้อมูลมาจากการสั่งซื้อสินค้า (Purchase Order) หรือส่งมอบไปยังที่ใด ๆ เช่นย้ายไปเก็บยังคลังสินค้าอื่น ๆ เป็นต้น ข้อมูลการสั่งซื้อสามารถจัดทำในลักษณะของ E-Commerce โดยลูกค้าสามารถดู Catalogue และสั่งซื้อได้จากระบบ Internet อันจะทำให้เกิดความสะดวกและเป็นที่ประทับใจของลูกค้าเป็นอย่างมาก รวมทั้งสามารถตรวจสอบ Stock เตรียมการส่งมอบ และประหยัดเวลาการป้อนข้อมูล อย่างไรก็ตามระบบก็ยังสามารถตรวจสอบ Stock และป้อนข้อมูลได้จากศูนย์กลางด้วย


การรับมอบสินค้า เป็นการรับมอบสินค้าจากโรงงานผลิต รับฝากเก็บสินค้า หรือสั่งซื้อจากผู้ผลิต ซึ่งต้องได้รับการยืนยันรายการสินค้าที่นำมาเก็บยังคลังสินค้าก่อน เพื่อวางแผนในการจัดเก็บ เพราะลักษณะของสินค้าแต่ละชนิดแตกต่างกัน ในการรับข้อมูลรายการสินค้าอาจ Online ผ่านระบบ Internet มาจาก Supplier หรือป้อนข้อมูลจากระบบคอมพิวเตอร์ที่ศูนย์กลาง ในการรับสินค้าที่มาถึงต้องมีระบบตรวจนับสินค้าครบถ้วน ขาด หรือเสียหาย รวมทั้งหากต้องการนำระบบ Barcode มาใช้ก็สามารถใช้ Barcode ที่มาพร้อมสินค้าหรือจัดทำระบบ Barcode ขึ้นเองก็ได้


ในการส่งมอบ สินค้าจะใช้ระบบ FIFO หรือ Expiry Date หรือกำหนดเองก็ได้ ระบบจะจัดพิมพ์ใบส่งมอบสินค้าหรือ Invoice ไปพร้อมกับสินค้าได้ตาม Format ที่ต้องการ หลังจากส่งมอบสินค้าแล้วพื้นที่ในคลังสินค้าอาจจะต้องจัดใหม่ (Relocation) เพื่อให้มีพื้นที่เก็บสินค้าที่เหมาะสมขึ้น ระบบจะมีการแสดงให้เห็นพื้นที่ว่างในรูปของ Graphic เพื่อง่ายในการปรับการเคลื่อนย้าย


นอกจากนี้ระบบโปรแกรมยังสามารถ เชื่อมโยงกับระบบงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้เช่น ระบบ E-Commerce ระบบบริหารการผลิต ระบบบัญชี หรือระบบบุคลากรได้ แต่ระบบดังกล่าวต้องเปิด Database เพื่อการ Access ข้อมูลให้ด้วยการจัดเก็บสินค้า เป็นการนำสินค้าที่รับมอบ มาจัดเก็บลงในตำแหน่งที่เหมาะสม อาจเป็น Pallet ที่วางอยู่บน Rack หรือสินค้าเป็นชิ้นที่วางอยู่บน Shelf หรือสินค้าที่กองอยู่ที่พื้น ในการใช้พื้นที่วางสินค้าต้องคำนึงถึงการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Space Utilization) สินค้าที่รับส่งบ่อย (Frequently Move) และสินค้าที่ต้องจัดเก็บเป็นพิเศษเพื่อให้การจัดเก็บสินค้าเป็นไปด้วยความ คล่องตัว สามารถใช้ระบบ Vehicle-Mounted Computer & Barcode Scanner ที่ติดตั้งอยู่บนรถ Forklift หรือ Hand-Held Computer & Barcode Scanner สำหรับพนักงานตรวจนับสินค้าได้ ระบบดังกล่าวจะเชื่อมโยงกับ Server ด้วยสัญญาณไร้สาย (Wireless) อันจะทำให้ข้อมูลการนำเข้า จัดเก็บ เคลื่อนย้าย หรือส่งสินค้า ถูกแสดงและบันทึกเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยอัตโนมัติ


เราจะเห็นการ อินทิเกรตกันระหว่าง OMS, TMS และ WMS เพื่อแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับคำสั่งซื้อ โดยเฉพาะในยุคของอีคอมเมิร์ซทำให้เกิดโซลูชันที่เชื่อมโยงหน้าร้านบนเว็บ เข้ากับระบบจัดการคำสั่งซื้อแบบเรียลไทม์ที่อินทิเกรตกับ TMS และ WMS ระบบยุคใหม่นี้ยังเชื่อมโยงกับผู้ให้บริการจัดส่งรายย่อย (3PL) เพื่อให้ขีดความสามารถในการเข้าถึงสต็อกสินค้า สถานะสั่งซื้อ และข้อมูลการจัดส่งในยุคอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นแบบเรียลไทม์ และมีความถูกต้อง ส่วนลูกค้าที่เป็นผู้สั่งซื้อ ก็จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องตามสัญญาเกี่ยวกับสต็อกสินค้าที่เขาต้องการสั่ง และวันที่จะได้รับสินค้านั้น

ด้วยขีดความสามารถในการมองเห็นได้ถึงกัน หมดในระบบหลักทั้งหมดในซัพพลายเชน ทำให้ธุรกิจไม่เพียงแต่รู้ว่ามีอะไรอยู่ในชั้นวางของในคลังสินค้าเท่านั้น แต่ยังรู้ว่ามีอะไรอยู่ที่ชั้นวางของของซัพพลายเออร์ของพวกเขาบ้าง รวมทั้งมีอะไรกำลังอยู่ในระหว่างเส้นทางไปสู่ลูกค้าด้วย.

1 comments:

Unknown said...

Thank you so much.

Post a Comment