กลยุทธ์และแผนส่งเสริมการส่งออกปี 2551และ 2552

Monday 2 March 2009

กลยุทธ์และแผนส่งเสริมการส่งออกในปี 2551 จะเป็นการดำเนินการที่ต่อเนื่องจากปี 2550 แต่จะเพิ่มการดำเนินการที่เข้มข้นมากขึ้น ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ได้แก่
1.ใช้การเจรจาการค้า เป็นตัวนำในการเปิดตลาดและแก้ไขปัญหาการกีดกันทางการค้า ในทุกระดับ และทุกเวที


2.ส่งเสริมการส่งออกเพื่อรักษาตลาดหลักไม่ให้การส่งออกลดลง เนื่องจากเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อสูง มีสัดส่วนการส่งออกประมาณร้อยละ 55 โดยจะยังคงกิจกรรมส่งเสริมการส่งออก ในระดับเดิมรวมทั้งการดำเนินมาตรการตลาดเชิงรุกมุ่งเจาะเข้าไปยังช่องทาง และกลุ่มลูกค้าเป้าหมายใหม่ๆ ทำ business matching นำสินค้าคุณภาพดีที่ได้รับตราสัญลักษณ์สินค้าไทย (Thailand s Brand) และสินค้าที่ได้รับการพัฒนาคุณภาพให้ได้มาตรฐานสากลและมีรูปแบบตรงกับความ ต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย โดยนำผู้ผลิต/ผู้ส่งออกเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกต่างๆ


3.เร่งส่งเสริมการส่งออกในตลาดใหม่ๆ ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกประมาณร้อยละ 45 โดยเฉพาะประเทศอาเซียน จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง ยุโรปตะวันออกและแอฟริกา ซึ่งผู้บริโภคนิยมสินค้าไทยและให้คุณค่ามากกว่าคู่แข่ง โดยการจัดแสดงสินค้าและนำนักธุรกิจจากประเทศในตลาดใหม่เดินทางมาเจรจาการค้า และหาลู่ทางการขยายความร่วมมือระหว่างกัน


4.เพิ่มการส่งเสริมธุรกิจบริการอย่างเข้มข้นเพื่อให้ทำการค้าต่างประเทศ เพิ่มมากยิ่งขึ้น ทั้งในส่วนของธุรกิจริการที่ได้ดำเนินการอยู่แล้ว คือ ร้านอาหารไทย บันเทิง การศึกษา สปา โรงพยาบาล และะรกิจบริการใหม่ๆ คือ แฟรนไชส์ การออกแบบ/ก่อสร้างอู่ซ่อมรถและธุรกิจการรับตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปผ่าน อินเตอร์เน็ตให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในต่างประเทศให้มากขึ้น


5.การสร้างและพัฒนาผู้ประกอการรายใหม่ในภูมิภาคให้เพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน ( ปี 2550) ที่มีอยู่ 3,371 ราย ซึ่งในปีงบประมาณ 2551 มีเป้าหมายเพิ่มขึ้น 2,100 ราย โดยพัฒนาให้สามารถส่งออกได้ โดยเฉพาะผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs และ OTOP


6.ส่งเสริมและพัฒนาย่านการค้านานาชาติเอกชน ในชุมชนต่างๆที่มีการค้าอยู่เดิม โดยการสนับสนุนกลุ่มธุรกิจต่างๆเหล่านี้ให้สามารถส่งออกได้ และพัฒนาย่านการค้าเหล่านี้ให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจนานาชาติ พร้อมทั้งสร้างภาพลักษณ์ย่านการค้านานชาติให้เป็นที่รู้จักในระดับโลก เช่น สีลม สุรวงศ์และมเหสักข์ เป็นศูนย์กลางการค้านานาชาติชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ของไทย ใบหยก/โบ๊เบ๊ เป็นศูนย์กลางการค้านานาชาติเสื้อผ้าส่งออก เป็นต้น


7.การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยไปดำเนินธุรกิจการผลิต การบริการในต่างประเทศ ให้มากขึ้นทั้งในเรื่องการลงทุนตั้งโรงงานผลิตสินค้าในสาขาที่ไทยมีความเข้ม แข็งและมีความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน เช่น อาหาร อาหารเพื่อสุขภาพ การเกษตร อุตสาหกรรมเกษตร ก่อสร้าง พลังงาน สุขอนามัย เป็นต้น การเปิดสาขา หาตัวแทนและหุ้นส่วนในต่างประเทศเพื่อสร้างเครือข่ายธุรกิจไทยในต่างประเทศ แสวงหาวัตถุดิบรวมทั้งสร้างตราสินค้าไทย


8.สนับสนุนการลดต้นทุนในระบบ Trade Logistics โดยดำเนินการพัฒนาระบบ e- Logistics เพื่อนำไปสู่การให้บริการแบบ Electronic certification ทั้งภายในและต่างประเทศ


9.การพัฒนารูปแบบและคุณภาพสินค้า เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและธุรกิจบริการของไทย เช่น พัฒนาการออกแบสินค้าและบรรจุภัณฑ์ การส่งเสริมการใช้ตราสัญลักษณ์สินค้าไทย เป็นต้น

0 comments:

Post a Comment