ข้อห้ามการใช้สาร Dimethyl fumarate (DMF) ในผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในอียู

Saturday 7 March 2009

อห้ามการใช้สาร Dimethyl fumarate (DMF) ในผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในอียู


สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์


สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์รายงานว่า Health and Consumers Directorate-General (DG SANCO) ได้มีหนังสือแจ้งเรื่องร่างข้อตัดสินใจของคณะกรรมาธิการยุโรปเรื่องการห้ามการใช้สารประเภท Dimethyl Fumarate (DMF) ในผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภคในอียู สรุปได้ ดังนี้


1. สืบเนื่องจากกรณีอาการแพ้ในผู้บริโภคที่เกิดจากการใช้สาร DMF ในผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์และ

รองเท้าหลายกรณีในประเทศสมาชิกอียู ดังนั้น เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2552 ประเทศสมาชิกอียูจึงได้เห็นชอบร่างข้อตัดสินใจของคณะกรรมาธิการยุโรป (Comission Decision) ภายใต้ระเบียบว่าด้วยความปลอดภัยสินค้า (General Product Safety Directive 2001/95/EC) ห้ามใช้สาร DMF ในผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภค (consumer products) เป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีทางออกที่ถาวรภายใต้ระเบียบ REACH เนื่องจากต้องใช้เวลาในการห้าม การจำกัดการใช้สารเคมีอันตรายตามระเบียบดังกล่าวมากเกินไป โดยมีเหตุผลในการพิจารณาเรื่องนี้ว่า


-สาร DMF ที่อยู่ใน consumer products ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้บริโภค

เนื่องจากมีแนวโน้มที่ก่อให้เกิดอาการแพ้รุนแรง


-ประเทศสมาชิกอียูบางประเทศ อาทิ เบลเยี่ยม สเปน ฝรั่งเศส มีกฎหมายภายในเพื่อ

ป้องกันความเสี่ยงจากสารนี้แล้ว


-ยังไม่มีการอนุญาตการวางจำหน่าย biocidal products (สารเคมีที่มีผลกระทบอันตราย

ต่อสิ่งมีชีวิต) ที่มีสาร DMF เป็นส่วนประกอบภายในอียู ดังนั้นจึงไม่ควรใช้สาร DMF ในผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในอียูทั้งหมด ดังนั้น ผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในอียูรวมทั้งที่นำเข้าในอียูจึงไม่ควรมีสาร DMF ด้วย (อียูมีระเบียบเกี่ยวกับ biocidal products ตาม Directive 98/8/EC concerning the placing of biocidal products on the market เมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2541 และได้ประกาศใช้ภายในประเทศสมาชิกอียูเมื่อ 14 พฤษภาคม 2543)

- ระดับสูงสุดของสาร DMF ที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ต้องไม่เกิน 0.1 mg/kg

- นับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2552 เป็นต้นไป สมาชิกอียูจะต้องรับรองว่าผลิตภัณฑ์ที่

จำหน่ายในอียูไม่มีสาร DMF เป็นส่วนประกอบ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายแล้วจะต้องถูกเก็บคืนออกจากตลาดหรือเรียกคืนจากผู้บริโภค


2. ร่าง Decision นี้จะต้องผ่านการพิจารณาของที่ประชุมคณะกรรมาธิการยุโรปต่อไป


3. สาร DMF เป็นสารเคมีที่ป้องกันเชื้อราที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลิตภัณฑ์หนังหรือสิ่งทอ

ในช่วงการเก็บรักษาหรือการขนส่งในสภาพอากาศชื้น โดยการตรวจพบที่ผ่านมาพบว่าการใช้สาร DMF ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภคเป็นสินค้าจากจีนและมาเลเซีย


ผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฏระเบียบและมาตราการต่างๆ ของอียูได้ที่ http://news.thaieurope.net/

รายละเอียดการต่ออายุระบบการให้สิทธิพิเศษทางศุลกากร (GSP) ของสหรัฐอเมริกา


รายละเอียดการต่ออายุระบบการให้สิทธิพิเศษทางศุลกากร (GSP) ของสหรัฐอเมริกา

1. กฎหมาย GSP ฉบับปัจจุบันมีผลบังคับใช้ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2550 – 31 ธันวาคม 2551 และสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ให้ต่ออายุการให้สิทธิ GSP ออกไปอีก 1 ปี โดยให้หมดอายุในวันที่ 31 ธันวาคม 2552 อย่างไรก็ตาม แนวทางดังกล่าวจะต้องได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาก่อนที่จะประกาศเป็นกฎหมาย ต่อไป ซึ่งขณะนี้ Finance Committee ของวุฒิสภาสหรัฐฯ กำลังพิจารณาแนวทางดังกล่าวอยู่


2. มีการแจ้งจากสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (United States Trade Representative : USTR) ว่าขณะนี้มีแนวโน้มว่าสินค้าบางรายการของไทยที่ส่งออกไปสหรัฐฯ ภายใต้สิทธิพิเศษ GSP อาจมีมูลค่าเกินเพดาน Competitive Need Limitation (CNL) ขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการขอยกเว้นการบังคับใช้ CNL ในสินค้าดังกล่าว จึงขอให้ผู้ส่งออกติดตามระดับและมูลค่าการส่งออกได้ที่
http://www.usitc.gov/

ความสำคัญของภาคการส่งออก(Important of Export)

Monday 2 March 2009

ธุรกิจภาคการส่งออกของไทยในช่วงที่ผ่านมา มีอัตราการขยายตัวที่สูงและรวดเร็วมาก ซึ่งเป็นกลไกสำคัญหนึ่งที่ผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศมีอัตราการขยายตัวอยู่ในระดับสูง นับว่าเป็นธุรกิจอีกแขนงหนึ่งที่มีความสำคัญต่อผู้ประกอบการเองและประเทศชาติ เนื่องจากเป็นธุรกิจที่สามารถนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาสู่ประเทศไทยเราเป็นจำนวนมากในปีหนึ่ง ๆ และรายได้เหล่านี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ถูกนำมาใช้พัฒนาและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น

ดังนั้น เพื่อให้ธุรกิจการส่งสินค้าออกของไทยประสบความสำเร็จ และมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มมากขึ้น ผู้ประกอบการที่จะเข้ามาในธุรกิจนี้ จึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ขั้นตอนและกระบวนการปฏิบัติต่าง ๆ ในการส่งออกสินค้าให้ดีเสียก่อน

เนื่องจากขั้นตอนการส่งออกสินค้า เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบธุรกิจส่งออกจะต้องทำความเข้าใจและศึกษาข้อปฏิบัติให้ถูกต้อง เพื่อให้การประกอบธุรกิจส่งออกเป็นไปอย่างสะดวกและได้รับผลสำเร็จคุ้มค่ากับความตั้งใจในการลงทุน

ความสำคัญของภาคการส่งออกสามารถแบ่งได้ดังนี้

1. ผลักดันในด้านการขยายการลงทุน และสร้างความต้องการแรงงาน
การส่งออกที่ขยายตัวขึ้นย่อมทำให้ผู้ผลิตต้องขยายการผลิตหรือมีการลงทุนเพิ่มขึ้น และโดยส่วนใหญ่แล้วระบบการผลิตของไทยก็เป็นระบบการผลิตที่ใช้แรงงานในสัดส่วนที่มากกว่าเครื่องจักร (Labour Intensive) ดังนั้นจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นการช่วยในการสร้างความต้องการแรงงานให้แก่ประเทศที่สำคัญปัจจัยหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีผลต่อการช่วยยกระดับรายได้ของแรงงานด้วยอีกส่วนหนึ่ง

2. ช่วยในการนำเข้าเงินตราต่างประเทศ

ช่วยในด้านการลดการขาดดุลการค้า และดุลการชำระเงิน เพราะในการส่งออกส่วนใหญ่จะเป็นการใช้สกุลเงินต่างประเทศในการชำระค่าสินค้า และส่วนมากก็จะเป็นสกุลเงินหลักๆ ที่เป็นที่ยอมรับกันในตลาดโลก เช่น ดอลล่าร์สหรัฐฯ มารค์เยอรมัน หรือเยน เมื่อส่งสินค้าออกไปแล้วก็จะทำให้ได้เงินตราต่างประเทศเข้ามา และเมื่อจะต้องนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศก็จะทำให้มีเงินไปชำระค่าสินค้านั้นได้ และเงินตราต่างประเทศที่ได้ก็จะมีส่วนต่อปริมาณเงินสำรองของประเทศอีกด้วย

3. ก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

ในการส่งสินค้าออกนั้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะระดับราคาของสินค้าที่ส่งออกส่วนมากอยู่ในระดับต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น จึงทำให้สินค้านั้นเข้าไปแข่งขันในตลาดโลกได้ ซึ่งเป็นไปตามหลักของการได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (Comparative Advantage) เมื่อประเทศใดสามารถผลิตสินค้าด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าประเทศอื่นแล้ว ย่อมแสดงว่าทรัพยากรที่ถูกนำมาผลิตนั้นถูกนำมาใช้ได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือถ้าสินค้าที่ผลิตได้มีระดับราคาที่สูงกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศแล้ว ก็ควรนำเข้าสินค้านั้นมากกว่า แล้วนำทรัพยากรต่างๆ ที่ผลิตสินค้านั้นไปผลิตสินค้าอื่นที่สามารถผลิตได้โดยต้นทุนที่ต่ำกว่าแทน

4. ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ให้แก่ทรัพยากร

เป็นการพิจารณาในการนำวัตถุดิบต่างๆ มาแปรรูปก่อนส่งออก ซึ่งจะทำให้สินค้านั้นๆ มีมูลค่าสูงขึ้น เช่น แทนที่จะส่งออกในรูปของผ้าผืน แต่เปลี่ยนมาเป็นการส่งออกเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปแทน ซึ่งมูลค่าของสินค้าย่อมสูงขึ้น อันจะทำให้ได้กำไรเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

5. เป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิตลง (Economy of Scale)

ถ้าเดิมผู้ผลิตที่ผลิตสินค้าเพื่อป้อนตลาดในประเทศเพียงอย่างเดียว ปริมาณการผลิตจึงไม่สูงมากนัก แต่ถ้ามีการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศด้วย ปริมาณการผลิตก็จะเพิ่มขึ้น จากกำลังผลิตเดิมที่มีอยู่ก็จะเพิ่มกำลังผลิตเพิ่มขึ้นให้เต็มกำลังผลิต หรืออาจเป็นการขยายกำลังผลิตขึ้น เหล่านี้ย่อมเป็นการช่วยลดต้นทุนต่อหน่วยให้ต่ำลง หรือเป็นการผลิต ณ จุดที่มีระดับต้นทุนต่ำสุด อันจะเป็นการช่วยให้ได้กำไรเพิ่มขึ้น
6. ช่วยสร้างความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

การขยายและกระจายการส่งออกจะช่วยปรับปรุงระดับเทคโนโลยีในการผลิต และการบริหาร เพราะในตลาดโลกย่อมมีภาวะการแข่งขันที่รุนแรง ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่จะกระตุ้นให้ผู้ส่งออกต้องปรับปรุงสินค้า เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด โดยการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการผลิตตลอดจนการจัดการ อันจะเป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งจะเป็นการช่วยยกระดับของเทคโนโลยีของประเทศอีกทางหนึ่ง

7. ช่วยลดการพึ่งพิงสินค้าจากต่างประเทศ

เป็นการพิจารณาในการผลิตสินค้าเพื่อทดแทนการนำเข้า (Import substitution) เพราะเดิมเราต้องนำเข้าสินค้าต่างๆ ที่ยังไม่สามารถผลิตได้ หรือผลิตได้แต่มีต้นทุนที่สูงกว่าการนำเข้า แต่เมื่อเราพยายามพัฒนาให้สามารถผลิตสินค้านั้นได้แล้วก็จะลดการนำเข้าลง ขณะเดียวกันนอกจากจะผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศแล้ว ก็มุ่งไปหาตลาดในต่างประเทศ (Export Oriented) เพื่อให้ได้ปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น อันจะเป็นการช่วยต้นทุนต่อหน่วยให้ต่ำลง

ระบบในการขนส่งสินค้า(Logistics System)


Global Positioning System (GPS)
GPS ได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อตรวจสอบการใช้งานยานพาหนะให้อยู่ในขอบเขตภารกิจที่กำหนด โดยใช้เทคโนโลยีกำหนดตำแหน่งบนพื้น โลกด้วยดาวเทียม ซึ่งให้ข้อมูลการเดินทางต่าง ๆ แสดงเส้นทางที่ใช้ ตำแหน่งที่จอดบนแผนที่ แสดงกราฟความเร็วของยานพาหนะ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนเสร็จสิ้นภารกิจ ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลมาบริหาร วิเคราะห์ ตรวจสอบ หรืออ้างอิง สามารถนำเสนอข้อมูลได้หลายรูปแบบ เช่น แสดงบนแผนที่ดิจิตอล ในมาตราส่วนต่าง ๆ คือ 1:4,000 ใน กทม. และ 1: 50,000 ทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย แสดงกราฟ หรือจัดพิมพ์รายงาน ข้อมูลต่าง ๆ ถูกเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ PC หรือ Server สามารถค้นหาข้อมูลได้ตามต้องการ โดยสามารถจัดทำรายงานต่างๆเช่น


รายงานเดินรถประจำวัน (Excel) ,รายงานการใช้ความเร็วเกินกำหนด ,รายงานสะสมระยะทางรายเดือนของรถรายงานสะสมระยะทางรายเดือนของพนักงานขับรถ, รายงานสรุปใบงาน ,แสดงเส้นทางการเดินทางและจุดจอดบนแผนที่ ,กราฟความเร็ว (รูปแบบของ Tacho Graph)


ระบบจัดการคำสั่งซื้อ (Order Manage ment System : OMS)
จด กลุ่มคำสั่งซื้อตามลูกค้า และลำดับความสำคัญ แจกจ่ายสต็อกสินค้าตามแหล่งคลังสินค้า และสร้างวันกำหนดส่งตามสัญญา โดยปกติ OMS มักจะอยู่ภายใต้ระบบ ERP


ระบบจัดการการขนส่ง (Transportation Management System: TMS)
รับ คำสั่งซื้อจาก OMS ยืนยันวันกำหนดส่ง กำหนดตัวผู้ขนส่ง และสร้างตารางเวลาการรับสินค้าและจัดส่ง ก่อนที่จะส่งคำสั่งซื้อไปที่ระบบจัดการคลังสินค้า เมื่อคำสั่งซื้อถูกส่งต่อไปแล้ว ขั้นตอนถัดไปคือ การเตรียมความพร้อมสำหรับบรรจุหีบห่อ และจัดส่ง ระบบ TMS จะติดตามการจัดส่ง การชำระค่าเดินทาง และประสิทธิภาพของผู้ส่ง ซึ่งไม่ว่าคุณจะส่งทางรถบรรทุก เครื่องบิน หรือเรือก็ตาม ระบบ TMS จะสร้างเอกสารที่ประกบติดไปกับสินค้าจนถึงปลายทาง


โปรแกรมจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management System - WMS)
เป็น ระบบโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการบริหารระบบคลังสินค้าทั่วไป ที่รับสินค้า เก็บสินค้า และกระจายสินค้า ระบบโปรแกรมประกอบด้วย ระบบงานหลัก 3 ระบบ คือ การรับสินค้า (Receiving) การจัดเก็บสินค้า (Storage) และการส่งมอบสินค้า (Delivery)


การส่งมอบสินค้า เป็นการส่งสินค้าให้ลูกค้า ซึ่งเป็นข้อมูลมาจากการสั่งซื้อสินค้า (Purchase Order) หรือส่งมอบไปยังที่ใด ๆ เช่นย้ายไปเก็บยังคลังสินค้าอื่น ๆ เป็นต้น ข้อมูลการสั่งซื้อสามารถจัดทำในลักษณะของ E-Commerce โดยลูกค้าสามารถดู Catalogue และสั่งซื้อได้จากระบบ Internet อันจะทำให้เกิดความสะดวกและเป็นที่ประทับใจของลูกค้าเป็นอย่างมาก รวมทั้งสามารถตรวจสอบ Stock เตรียมการส่งมอบ และประหยัดเวลาการป้อนข้อมูล อย่างไรก็ตามระบบก็ยังสามารถตรวจสอบ Stock และป้อนข้อมูลได้จากศูนย์กลางด้วย


การรับมอบสินค้า เป็นการรับมอบสินค้าจากโรงงานผลิต รับฝากเก็บสินค้า หรือสั่งซื้อจากผู้ผลิต ซึ่งต้องได้รับการยืนยันรายการสินค้าที่นำมาเก็บยังคลังสินค้าก่อน เพื่อวางแผนในการจัดเก็บ เพราะลักษณะของสินค้าแต่ละชนิดแตกต่างกัน ในการรับข้อมูลรายการสินค้าอาจ Online ผ่านระบบ Internet มาจาก Supplier หรือป้อนข้อมูลจากระบบคอมพิวเตอร์ที่ศูนย์กลาง ในการรับสินค้าที่มาถึงต้องมีระบบตรวจนับสินค้าครบถ้วน ขาด หรือเสียหาย รวมทั้งหากต้องการนำระบบ Barcode มาใช้ก็สามารถใช้ Barcode ที่มาพร้อมสินค้าหรือจัดทำระบบ Barcode ขึ้นเองก็ได้


ในการส่งมอบ สินค้าจะใช้ระบบ FIFO หรือ Expiry Date หรือกำหนดเองก็ได้ ระบบจะจัดพิมพ์ใบส่งมอบสินค้าหรือ Invoice ไปพร้อมกับสินค้าได้ตาม Format ที่ต้องการ หลังจากส่งมอบสินค้าแล้วพื้นที่ในคลังสินค้าอาจจะต้องจัดใหม่ (Relocation) เพื่อให้มีพื้นที่เก็บสินค้าที่เหมาะสมขึ้น ระบบจะมีการแสดงให้เห็นพื้นที่ว่างในรูปของ Graphic เพื่อง่ายในการปรับการเคลื่อนย้าย


นอกจากนี้ระบบโปรแกรมยังสามารถ เชื่อมโยงกับระบบงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้เช่น ระบบ E-Commerce ระบบบริหารการผลิต ระบบบัญชี หรือระบบบุคลากรได้ แต่ระบบดังกล่าวต้องเปิด Database เพื่อการ Access ข้อมูลให้ด้วยการจัดเก็บสินค้า เป็นการนำสินค้าที่รับมอบ มาจัดเก็บลงในตำแหน่งที่เหมาะสม อาจเป็น Pallet ที่วางอยู่บน Rack หรือสินค้าเป็นชิ้นที่วางอยู่บน Shelf หรือสินค้าที่กองอยู่ที่พื้น ในการใช้พื้นที่วางสินค้าต้องคำนึงถึงการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Space Utilization) สินค้าที่รับส่งบ่อย (Frequently Move) และสินค้าที่ต้องจัดเก็บเป็นพิเศษเพื่อให้การจัดเก็บสินค้าเป็นไปด้วยความ คล่องตัว สามารถใช้ระบบ Vehicle-Mounted Computer & Barcode Scanner ที่ติดตั้งอยู่บนรถ Forklift หรือ Hand-Held Computer & Barcode Scanner สำหรับพนักงานตรวจนับสินค้าได้ ระบบดังกล่าวจะเชื่อมโยงกับ Server ด้วยสัญญาณไร้สาย (Wireless) อันจะทำให้ข้อมูลการนำเข้า จัดเก็บ เคลื่อนย้าย หรือส่งสินค้า ถูกแสดงและบันทึกเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยอัตโนมัติ


เราจะเห็นการ อินทิเกรตกันระหว่าง OMS, TMS และ WMS เพื่อแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับคำสั่งซื้อ โดยเฉพาะในยุคของอีคอมเมิร์ซทำให้เกิดโซลูชันที่เชื่อมโยงหน้าร้านบนเว็บ เข้ากับระบบจัดการคำสั่งซื้อแบบเรียลไทม์ที่อินทิเกรตกับ TMS และ WMS ระบบยุคใหม่นี้ยังเชื่อมโยงกับผู้ให้บริการจัดส่งรายย่อย (3PL) เพื่อให้ขีดความสามารถในการเข้าถึงสต็อกสินค้า สถานะสั่งซื้อ และข้อมูลการจัดส่งในยุคอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นแบบเรียลไทม์ และมีความถูกต้อง ส่วนลูกค้าที่เป็นผู้สั่งซื้อ ก็จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องตามสัญญาเกี่ยวกับสต็อกสินค้าที่เขาต้องการสั่ง และวันที่จะได้รับสินค้านั้น

ด้วยขีดความสามารถในการมองเห็นได้ถึงกัน หมดในระบบหลักทั้งหมดในซัพพลายเชน ทำให้ธุรกิจไม่เพียงแต่รู้ว่ามีอะไรอยู่ในชั้นวางของในคลังสินค้าเท่านั้น แต่ยังรู้ว่ามีอะไรอยู่ที่ชั้นวางของของซัพพลายเออร์ของพวกเขาบ้าง รวมทั้งมีอะไรกำลังอยู่ในระหว่างเส้นทางไปสู่ลูกค้าด้วย.

ทำไมประเทศจึงมักขาดดุลการค้า?


ก่อนอื่นต้องอธิบายคำว่า"ดุลการค้า" ก่อน ซึ่งดุลการค้าคือการเปรียบเทียบระหว่างมูลค่าการนำเข้าสินค้ากับมูลค่าการส่งออก สินค้าของประเทศ ถ้านำเข้ามากกว่าส่งออกแสดงว่าขาดดุลการค้า แต่ถ้าส่งออกมากกว่านำเข้าแสดงว่าได้ดุลการค้า

ประเทศขาดดุลการค้าส่วนใหญ่ น่าจะมาจากบัญชีเดินสะพัดขาดดุล หรือเป็นลบ ทั้งนี้จากการที่ประเทศมีการนำเข้าสินค้า เช่น น้ำมัน เทคโนโลยี สินค้าที่มีมูลค้ามาก ๆ มากกว่าการการส่งออกสินค้าของไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าทางด้านเกษตรกรรม

ในช่วงนี้เราว่าผลกระทบจากราคาน้ำมันเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยขาด ดุลการค้า นอกจากเรื่องน้ำมันแล้วสาเหตุจากการนำเข้าสินค้าที่มีมูลค่ามากกว่าการส่ง ออกสินค้าเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ประเทศขาดดุลการค้

เนื่อง จากประเทศไทยยังเป็นประเทศที่ส่งออกสินค้าเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสินค้าเกษตรเหล่านี้มักจะเป็นสินค้าที่มีราคาถูกและเป็นสินค้าที่ต้อง เก็บเกี่ยวตามฤดูกาล บางชนิดไม่ให้ผลผลิตตลอดปี แต่ประเทศไทยก็ยังมีการส่งออกสินค้าประเภทอิเลคทรอนิกส์อยู่ในอันดับต้นๆ เหมือนกันแต่ก็มีการนำเข้าสินค้าดังกล่าวเยอะเช่นเดียวกัน สำหรับประชากรภายในประเทศก็มักบริโภคสินค้าที่มาจากต่างประเทศมากกว่าสินค้า ภายในประเทศ จึงมีผลทำให้เงินทองไหลออกนอกประเทศเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ประเทศมักประสบกับปัญหาการขาดดุลการค้าเป็นประจำ


เรื่อง ที่ไทยขาดดุลทางด้านการค้านั้น ส่วนหนึ่งมาจากการที่ประเทศไทยเราไม่มีความสามารถในด้านการผลิตน้ำมันทั้ง แบบสำเร็จรูปและแบบน้ำมันดิบได้เองจึงจำเป็นต้องมีการนำเข้าจากกลุ่มประเทศ สมาชิกโอเปกในปีๆหนึ่งเป็นจำนวนมาก ถึงประเทศไทยจะพยายามขยายการส่งออกไปยังประเทศต่างๆได้มากขึ้นแต่ก็ไม่ สามารถเพิ่มขึ้นได้ทันกับการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่า เนื่องจากประชากรใช้น้ำมันอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ไม่ช่วยกันประหยัดทรัพยากรน้ำมันทั้งที่ตอนนี้ราคาก็แพงขึ้นมามาก แต่ก็ยังมีความต้องการใช้มากเช่นเดิม และนี้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยยังคงขาดดุลการค้า




การส่งออกในปัจจุบันมีการแข่งขันกันสูงมากไม่แปลกที่ในบางประเทศจะขาดดุลการ ค้าตลาดที่เปิดกันอย่างเสรีทำให้มีนักฉกฉวยหวังทำกำไรมากขึ้นถ้าประเทศยัง ไหวตัวไม่ทันกับสิ่งพวกนี้การลงทุน,นำเข้า และส่งออกคงจะขาดดุลไปตลอด


ในอดีตที่ผ่านมาหลายปี จะเห็นได้ว่า ดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ในภาวะขาดดุลมาตลอด เนื่องจากมีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมากกว่าการส่งออก โดยเฉพาะในปีที่ผ่านมา ประเทศไทยก็ประสบกับปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ดังนั้นราคาน้ามันในตลาดโลกที่สูงขึ้น จึงทำให้การนำเข้านั้นต้องเสืยค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ในขณะที่การส่งออกสินค้าของไทยยังต้องแข่งขันกับสินค้าของประเทศอื่นๆในตลาด โลก

สาเหตุหลักจากการนำเข้าน้ำมันจำนวนมาก แม้ว่ารัฐบาลพยายามรณรงค์ให้ประชาชนประหยัดการใช้พลังงาน แต่มาตรการต่างๆ ของภาครัฐล้วนไม่ได้ผลอย่างสิ้นเชิง รวมทั้งความพยายามในการดำเนินโครงการเมกะโปรเจ็ก รัฐบาลต้องดำเนินมาตรการประหยัดการใช้พลังงานเชิงบังคับอย่าง และมีมาตรการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน เพื่อแก้ปัญหาการนำเข้าน้ำมันจำนวนมาก และต้องระมัดระวังโครงการลงทุนของรัฐบาล โดยเฉพาะเมกะโปรเจ็กที่ต้องมีการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์จำนวนมาก ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเกินกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนด ไว้

จีเอสพี (GSP)นั้นคืออะไร?


คอลัมน์ คลื่นความคิด สกล หาญสุทธิวารินทร์ มติชนรายวัน วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 28 ฉบับที่ 9804

ในช่วงนี้มีข่าวรัฐบาลไทยกำลังขอให้สหภาพยุโรปคืนสิทธิจีเอสพีให้แก่สินค้ากุ้งไทยที่ส่งไปสหภาพยุโรป คำถามที่ได้รับบ่อยๆ จากผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับวงการส่งออกคือ จีเอสพีนั้นคืออะไร จึงขอทำตัวเป็นผู้ใหญ่ลีตอบว่า จีเอสพีนั้นไซร้เป็นดังนี้

1.ความเป็นมาของโครงการจีเอสพี

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โลกประสบกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ในการประชุมองค์การสหประชาชาติ ว่าด้วยการค้าและพัฒนา (UNCTAD) สมัยที่ 1 ในปี พ.ศ.2507 จึงเกิดแนวความคิดเกี่ยวกับระบบจีเอสพีขึ้น โดยมีความมุ่งหมายที่จะยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา ให้มีรายได้จากการค้า แทนการรับในรูปแบบของเงินช่วยเหลือ (AID) ด้วยการให้สินค้าส่งออกของประเทศกำลังพัฒนา สามารถแข่งขันกับสินค้าของประเทศที่พัฒนาแล้วได้ ในการประชุม UNCTAD ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2511 ประเทศที่พัฒนาแล้วได้ตกลงให้ความช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา ในด้านการส่งออกด้วยการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Generalized System of Preferences : GSP โดยการยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าให้กับสินค้าที่ส่งมาจากประเทศที่กำลังพัฒนา

2.ประเทศที่ให้สิทธิจีเอสพี

ประเทศที่เข้าร่วมโครงการให้สิทธิจีเอสพี ณ ปัจจุบัน มี 8 ประเทศ และสหภาพยุโรป

3.ประเทศที่ได้รับสิทธิ

เป็นประเทศที่กำลังพัฒนา โดยสหภาพยุโรปให้สิทธิจีเอสพีแก่ประเทศและดินแดนอาณานิคม ประมาณ 174 ประเทศ รวมทั้งประเทศที่แตกสลายจากสหภาพโซเวียตด้วย

สหรัฐ อเมริกาให้สิทธิจีเอสพีแก่ประเทศและดินแดนอาณานิคมประมาณ 145 ประเทศ โดยสหรัฐอเมริกาจะไม่ให้สิทธิแก่ประเทศที่ไม่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และประเทศที่เป็นสมาชิกของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน(OPEC)

ญี่ปุ่นให้สิทธิจีเอสพีแก่ประเทศประมาณ 155 ประเทศ

สำหรับประเทศไทยได้รับสิทธิจากทุกประเทศที่ให้สิทธิจีเอสพี

4.ประโยชน์ของการได้รับสิทธิจีเอสพี

สินค้าที่ได้รับสิทธิ เมื่อส่งไปประเทศที่ให้สิทธิ จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า หรือได้รับการลดหย่อนภาษีนำเข้า คือเสียภาษีน้อยลงจากอัตราปกติ ทำให้ต้นทุนการนำเข้าถูกลง ผู้นำเข้าสามารถตั้งราคาขายให้ถูกลง จูงใจให้ผู้ซื้อซื้อมากขึ้น ผู้นำเข้าก็จะสั่งซื้อสินค้านั้นจากประเทศส่งออกต่อไปหรือซื้อมากขึ้น เปรียบเทียบให้เห็นได้จากหลายท่านที่ชอบไปช็อปปิ้งแถวหาดใหญ่ จังโหลน ปาดังเบซาร์ โดยเห็นว่าเป็นสินค้าที่มีราคาถูกกว่าที่อื่น เพราะไม่เสียภาษี

กรณีของสินค้ากุ้งไทยที่ส่งไปยังสหภาพยุโรปก็เช่นเดียวกัน ถ้าเป็นกุ้งแช่เย็นแช่แข็งอัตราภาษีปกติ 12% แต่ถ้าได้รับสิทธิจีเอสพีจะเสียภาษีเพียง 4.2% ส่วนกุ้งปรุงแต่ง อัตราภาษีปกติ 20% อัตราภาษีที่ได้จีเอสพีเสียเพียง 7% จะเห็นได้ว่ามีผลต่อต้นทุนการนำเข้ากุ้งจากไทยมาก

5.การตัดหรือระงับสิทธิจีเอสพี

สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่มีเงื่อนไขในการตัดสิทธิจีเอสพี และมีกลไกในการระงับสิทธิจีเอสพี เงื่อนไขการพิจารณาให้สิทธิจีเอสพีของสหรัฐอเมริกามีหลายประการที่สำคัญ ได้แก่

-การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายของสหรัฐอเมริกากำหนดให้ประเทศที่ได้รับสิทธิจีเอสพีของสหรัฐอเมริกา ต้องให้การปกป้องคุ้มครองในเรื่องลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้าให้กับสินค้าของสหรัฐอเมริกาอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ

-ประเทศที่ได้รับสิทธิจีเอสพีต้องคุ้มครองสิทธิแรงงานภายในประเทศในระดับที่เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ

-การให้การสนับสนุนสหรัฐอเมริกาในการต่อต้านผู้ก่อการร้าย

หากประเทศใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวก็อาจถูกสหรัฐอเมริกาตัดสิทธิจีเอสพีได้

นอกจากเงื่อนไขการให้สิทธิจีเอสพีดังกล่าวแล้ว สหรัฐอเมริกายังได้วางกฎในการระงับสิทธิจีเอสพีไว้ด้วย กฎที่ว่าคือกฎว่าด้วยความจำเป็นในการแข่งขัน สรุปได้คือ หากสินค้ารายการใดจากประเทศใด ส่งไปสหรัฐอเมริกามีส่วนแบ่งตลาดนำเข้าตั้งแต่ 50% ขึ้นไป หรือสินค้านั้นมีมูลค่าการนำเข้าสูงเกินระดับเพดานที่สหรัฐอเมริกากำหนดในแต่ละปี(เพิ่มขึ้นปีละ 5 ล้านเหรียญ) สินค้านั้นจะถูกระงับสิทธิในปีปฏิทินถัดไป

สินค้าที่ถูกระงับสิทธิไปแล้ว อาจได้สิทธิกลับคืนมาถ้าปรากฏว่ามูลค่าการนำเข้าในปีถัดไปต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ หรือดำเนินการขอสิทธิคืน หลักเกณฑ์ที่สหรัฐอเมริกากำหนดไว้ การจะได้สิทธิคืนหรือไม่เป็นอำนาจของประธานาธิบดีสหรัฐเท่านั้น

ผู้ให้สิทธิจีเอสพีรายต่อมาที่มีการกำหนดเงื่อนไขในการให้สิทธิและการระงับสิทธิจีเอสพีคือสหภาพยุโรป โดยมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อครั้งต่ออายุโครงการที่ 3 ช่วงปี 2538 ถึงปี 2547 หลายประการที่สำคัญคือ จากเดิมที่มีการกำหนดการให้สิทธิตามเพดานหรือตามโควต้าก็เปลี่ยนเป็นการพิจารณาตามความอ่อนไหวของสินค้า ซึ่งมีหลักเกณฑ์วิธีการ ตลอดจนการคำนวณมูลค่าการนำเข้าค่อนข้างซับซ้อน

ผลจากการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ของสหภาพยุโรป ทำให้สินค้าไทยถูกสหภาพยุโรประงับสิทธิจีเอสพีหลายรายการที่สำคัญ สินค้ากุ้งที่เป็นประเด็นอยู่ในปัจจุบัน

โครงการจีเอสพีของสหภาพยุโรปที่มีการต่ออายุไปอีกตั้งแต่ปี 2548 ก็มีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การคำนวณมูลค่า แต่ยังไม่ได้ประกาศใช้บังคับ

6.จะรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงระบบสิทธิจีเอสพีอย่างไรดี

สิทธิจีเอสพีใช่ว่าจะมีแต่ประโยชน์ จีเอสพีก็มีโทษเช่นเดียวกัน โทษที่เห็นได้ชัดคือ ถ้าประเทศเราถูกตัดสิทธิจีเอสพี แต่ประเทศคู่แข่งที่ส่งออกสินค้าชนิดเดียวกันไม่ถูกตัดสิทธิ จะทำให้เราเสียเปรียบ ฉะนั้น ถ้าจะตัดสิทธิก็ให้ตัดสิทธิให้หมดทุกประเทศไปเลยก็จะไม่ว่ากัน

โครงการจีเอสพีมีอนาคตไม่แน่นอน ไม่แน่ว่าประเทศผู้ให้สิทธิจะยุติโครงการเมื่อใด หรือจะมีการกำหนดเงื่อนไข กฎเกณฑ์ต่างๆ ออกมาระงับสิทธิ เป็นการบีบประเทศผู้ส่งออกเพิ่มมากขึ้น ที่ผ่านมาเราก็ถูกบางประเทศใช้จีเอสพีบีบ

หากยังได้สิทธิจีเอสพีต่อไปก็คงต้องเตรียมรับสถานการณ์รับเงื่อนไขต่างๆ ที่อาจเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันคงต้องพูดแบบกำปั้นทุบดินว่า เราคงต้องเตรียมรับสถานการณ์ลดต้นทุนการส่งออกอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ชดเชยกับสิทธิจีเอสพีที่อาจถูกตัดไป และต้องรักษาคุณภาพมาตรฐานของสินค้า เพราะจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะจูงใจให้ผู้นำเข้ายังคงซื้อสินค้าไทย ถึงแม้จะแพงกว่าสินค้าของประเทศคู่แข่งอยู่บ้าง ขณะเดียวกันสินค้ารายการใดที่ถูกตัดจีเอสพีเพราะส่วนแบ่งการตลาดสูง ผู้ผลิตหรือผู้ส่งออกที่ส่งสินค้านั้นออกไป ก็ให้ภูมิใจได้ว่ามีส่วนทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว จึงไม่ได้รับสิทธิจีเอสพี เพราะสิทธิจีเอสพีนั้นไซร้ มีไว้ให้กับเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนานั่นเอง

องค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) คืออะไร?


องค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) มีพัฒนาการมาจากแกตต์ (General Agreement on Tariff and Trade : GATT) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2538 โดยมีองค์กรสูงสุดในการตัดสินใจ คือ ที่ประชุมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Conference) ซึ่งกำหนดให้มีการประชุมทุก ๆ 2 ปี การประชุมครั้งแรกมีขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 9-13 ธันวาคม 2539 ครั้งที่2 มีขึ้น ณ นครเจนีวาประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 18-20 พฤษภาคม 2541 การประชุมครั้งที่ 3 มีขึ้น ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน 2542 และการประชุมครั้งที่ 4 จะมีขึ้น ณ เมืองโดฮา ประเทศการ์ตา ระหว่างวันที่ 9-13 พฤศจิกายน 2544 ปัจจุบัน WTO มีสมาชิกทั้งสิ้น 140 ประเทศ องค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO)


วัตถุประสงค์ของ WTO


- เป็นเวทีในการเจรจาลดอุปสรรคและข้อกีดกันทางการค้า และมีกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนให้การค้ามีความเสรียิ่งขึ้น โดยอยู่บนพื้นฐานของการแข่งขันที่เป็นธรรม
- สร้างความเข้มแข็งให้แก่กระบวนการยุติข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศ
- เป็นกลไกตรวจสอบและทบทวนนโยบายการค้าของประเทศสมาชิก

หลักการสำคัญของ WTO

- กำหนดให้ใช้มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศโดยไม่เลือกประติบัติ (Non-Discrimination) คือ ให้การปฏิบัติต่อสินค้าจากทุกประเทศอย่างเท่าเทียมกัน (Most-favoured Nation Treatment : MFN) กล่าวคือ แต่ละประเทศจะต้องเรียกเก็บภาษีศุลกากร หรือค่าธรรมเนียม หรือใช้มาตรการใดๆ กับสินค้าที่นำเข้าจากประเทศสมาชิกอื่นๆ เท่าเทียมกันทุกประเทศ และปฏิบัติต่อสินค้านำเข้าเท่าเทียมกับสินค้าภายในประเทศ (National Treatment) ไม่ว่าจะเป็นการเก็บภาษีภายใน หรือการกำหนดกฎระเบียบต่างๆ

- การกำหนดและบังคับใช้มาตรการทางการค้าจะต้องมีความโปร่งใส (transparency)โดยประเทศสมาชิกจะต้องพิมพ์เผยแพร่กฎระเบียบเกี่ยวกับมาตรการ ทางการค้าต่อสาธารณชน และแจ้งให้ประเทศสมาชิกอื่นๆ ทราบเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ประกอบการค้าระหว่างประเทศ

- คุ้มครองผู้ผลิตภายในด้วยภาษีศุลกากรเท่านั้น (tariff-only protection) โดยหลักการแล้ว WTO ห้ามใช้มาตรการจำกัดการนำเข้าทุก ชนิด ยกเว้นบางกรณีที่สอดคล้องกับบทบัญญัติของ WTO

- มีสิทธิ์ใช้ข้อยกเว้นในกรณีฉุกเฉินและจำเป็น (necessary exceptions and emergency action)ประเทศสมาชิกสามารถใช้มาตรการคุ้มกันชั่วคราวในกรณีที่มีการนำเข้า มากผิดปกติ และสามารถจำกัดการนำเข้า เพื่อจุดประสงค์ในการแก้ไขการขาดดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ หรือในกรณีที่เป็นข้อยกเว้นทั่วไป เช่น เพื่อรักษาสุขภาพของประชาชน สัตว์ และพืช เพื่อศีลธรรมอันดี และเพื่อความมั่นคงภายใน เป็นต้น

- ส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม (fair competition) ประเทศสมาชิกสามารถเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด และการอุดหนุนสินค้านำเข้าได้ หากมีการไต่สวนตามกฎเกณฑ์ของ WTO แล้วพบว่า ประเทศผู้ส่งออกมีการทุ่มตลาด หรือให้การอุดหนุนจริง และก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายใน นอกจากนี้ ยังห้ามไม่ให้ประเทศสมาชิกอุดหนุนการผลิต และการส่งออกจนบิดเบือนกลไกตลาด

- ให้มีการรวมกลุ่มทางการค้าเพื่อลดภาษีระหว่างกันได้ หากมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายการค้า
(no trade blocs) ประเทศสมาชิกสามารถตกลงรวมกลุ่ม เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะขยายการค้าระหว่างกัน แต่มีเงื่อนไขว่าการรวมกลุ่มต้องไม่มีจุดประสงค์ เพื่อกีดกันการนำเข้าสินค้าจากประเทศนอกกลุ่ม และเมื่อรวมกลุ่มกันแล้วต้องไม่กระทบต่อผลประโยชน์เดิมของประเทศนอกกลุ่ม

- มีกระบวนการยุติข้อพิพาททางการค้า (trade dispute settlement mechanism) เมื่อมีกรณีข้อขัดแย้งทางการค้า ให้หารือเพื่อหาทางยุติข้อพิพาท หากไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ให้นำเรื่องเข้าสู่กระบวนการยุติข้อพิพาทของ WTO โดยการยื่นเรื่องต่อองค์กรระงับข้อพิพาท (dispute settlement body: DSB) ของ WTO เพื่อจัดตั้งคณะลูกขุนขึ้นพิจารณากรณีดังกล่าว และรายงานผลให้ประเทศสมาชิกอื่นร่วมกันพิจารณา บังคับให้เป็นไปตามผลของคณะลูกขุน หากไม่ปฏิบัติตามคำตัดสิน ประเทศผู้เสียหายสามารถทำการตอบโต้ทางการค้าได้

- ให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศกำลังพัฒนาในการปฏิบัติตามพันธกรณี (special and differential treatment : S&D) ผ่อนผันให้ประเทศกำลังพัฒนาจำกัดการนำเข้าได้ หากมีจุดประสงค์เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และรักษาเสถียรภาพดุลการชำระเงิน และให้โอกาสประเทศพัฒนาแล้วให้สิทธิพิเศษทางศุลกากร (GSP) แก่ประเทศกำลังพัฒนาได้ แม้จะขัดกับหลัก MFN ก็ตาม

ประเทศสมาชิก WTO

ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 1 มกราคม 2544) WTO มีประเทศสมาชิกทั้งสิน 140 ประเทศ มีประเทศที่อยู่ระหว่างกระบวนการเข้าเป็นสมาชิกอีก 28 ประเทศ ที่สำคัญอาทิ จีน รัสเซีย ซาอุดิอาระเบีย ไต้หวัน เวียดนาม ลาว กัมพูชา เนปาล เป็นต้น

การนำเข้าสินค้าครั้งละมากๆมต้องเสียค่าอะไรบ้าง?


การนำเข้าสินค้า ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นนะครับ

ค่าสินค้า ราคาส่วนใหญ่จะเป็น FOB คือราคาสินค้าส่งถึงท่านเรือต้นทาง

ค่าขนส่ง (ทางเรือหรือเครื่องบิน) ในกรณีที่ราคาสินค้า รวมค่าขนส่ง เรียกว่า CNF

ค่าประกัน ในกรณีที่เสนอราคา รวม ก็จะเรียกว่า CIF ปกติ ค่าประกันจะมี มูลค่าประมาณ 1% ของราคา CNF

ค่าภาษีนำเข้า ตามพิกัดของสินค้า เป็น % คิดจากราคา CIF

ค่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม คิด 7% จากราคา CIF รวมภาษีนำเข้า

ภาษีอื่นๆ สำหรับสินค้าบางประเภท

ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด ในกรณีมาเต็มตู้ ประมาณ 6 พันบาท

ค่า shiping 2-3000 บาท

ค่าขนส่งขึ้นอยู่กับระยะ ทาง

ค่าคนงาน ลงของ


สรุป ถ้าไม่คิดจะทำเป็นอาชีพ หาชิปปิ้ง ทำแทนดีกว่า

สินค้าฮาลาล Halal Logo เพื่อการนำเข้าและส่งออก


ป็นเรื่องแปลกขึ้นมาทันทีเมื่อผู้บริโภคในประเทศมุสลิมบาง ประเทศเกิดความไม่มั่นใจเมื่อพบเห็นเครื่องหมายรับรองฮาลาล บนผลิตภัณฑ์ที่นอกเหนือจากสัตว์ที่ต้องเชือด ทำให้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นเป็นจุดอ่อน ของกิจการฮาลาลไทยทันที


ศาสนา อิสลามเป็นศาสนาสากลสำหรับมนุษยชาติ มีผู้นับถือในปัจจุบันเกือบกว่าสองพันล้านคน หรือประมาณเกือบ 1 ใน 3 ของประชากรโลก โดยทั่วไปแล้วเมื่อเอ่ยถึงมุสลิมผู้คนส่วนใหญ่จะคิดไปถึงผู้คนในกลุ่มประเทศ ตะวันออกกลางซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนา และประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม แต่ความจริงแล้วมุสลิมไม่ได้มีจำนวนมากเฉพาะในภูมิภาคนั้น แต่กระจัดกระจายไปทั่วทุกมุมโลก ในตะวันออกกลางมีจำนวนมุสลิมเพียง 15-20% ของจำนวนมุสลิมทั้งหมดเท่านั้น


ศาสนาอิสลามถูกเผยแพร่ออกไปทั่วโลก จึงทำให้มีมุสลิมอยู่ทั่วทุกภูมิภาคไม่ว่า จะในเอเชีย ยุโรป อเมริกา ฯลฯ พื้นที่ที่มีมุสลิมน้อย จนเทียบเปอร์เซ็นต์ไม่ได้ก็เห็นจะเป็นแถบกลุ่มสแกนดิเนเวีย


จากการ กระจัดกระจายออกไปทำให้เกิดความแตกต่างในวัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิตถึงแม้ว่าจะมีหลักการยึดมั่นในศาสนาเดียว กันก็ตาม แต่อะไรก็ตามที่เป็นกฎเกณฑ์ข้อบังคับ ของศาสนามุสลิมทุกคนก็จะยึดมั่นละปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกันตามคำสอนและหลัก ฐานที่ปรากฏโดยเฉพาะเรื่องของอาหารการกินที่มีข้อบังคับตายตัวว่าจะต้องเป็น อย่างไร


แต่นั่นไม่ได้หมายความว่ามุสลิมทุกคนจะต้องบริโภคอาหารชนิด เดียวกันหรือประเภท เดียวกัน แต่จะต้องบริโภคโดยวิธีการและเงื่อนไขเดียวกันตามข้อกำหนดที่เรียกและเข้าใจ กันคือคำว่า “อาหารฮาลาล”


อาหารฮาลาล เป็นอาหารตามข้อกำหนด ที่พระผู้เป็นเจ้ากำหนดขึ้นสำหรับมนุษยชาติทั้งหมดมิใช่กับเฉพาะมุสลิมหรือ คนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดเท่านั้น อาหารฮาลาลจะต้องเป็นอาหาร ที่มีประโยชน์ มีโภชนาการถูกหลักสุขอนามัย เพราะอาหารฮาลาลได้ถูกกำหนดควบคู่กับอาหารที่ดี นั้นก็คือ ฮาลาลตอยยิบ ซึ่งแปลว่า อนุมัติในสิ่งทีดี


เมื่อมุสลิมที่อยู่ทุกส่วนทุกประเทศ บางประเทศเป็นคนกลุ่มใหญ่ บางประเทศเป็นคนกลุ่มน้อย ในประเทศที่มีมุสลิมเป็นคนกลุ่มใหญ่มีผู้ปกครองเป็นมุสลิมสภาพโดยรวมที่ เกี่ยวข้องกับการดำเนินวิถีชีวิตมักไม่มีอะไรขัดแย้งกับหลักการของศาสนาโดย เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับ ฮาลาล-ฮารอม (ข้ออนุมัติ-ข้อห้าม) เช่น เรื่องการแต่งกายและการบริโภค เพราะโดยภาพรวมจะต้องยึดมั่นอยู่ในหลักการศาสนา อยู่แล้ว


ส่วนใน ประเทศที่มีมุสลิมเป็นคนกลุ่มน้อย ผู้ปกครองประเทศไม่ใช่มุสลิม กฎเกณฑ์ข้อบังคับตามหลักศาสนาอิสลามไม่สามารถนำมาบังคับใช้ได้ในสังคมโดยรวม กฎเกณฑ์ต่างๆ ตามหลักศาสนาก็จะถูกกำหนดขึ้นเพื่อใช้กับบุคคลเฉพาะกลุ่ม บางเรื่องมีกฎหมายรองรับบางเรื่องก็ไม่มีขึ้นอยู่กับองค์กรศาสนาในประเทศ นั้นๆ ว่าจะดำเนินการอย่างไรและขึ้นอยู่ กับรัฐบาลในประเทศนั้นๆ จะอนุมัติให้มีกฎข้อบังคับเหล่านั้นหรือไม่


ที่สำคัญคือเรื่องการ แต่งกายและเรื่องการบริโภคทั้งสองเรื่องนี้สำหรับประเทศที่มุสลิมเป็นคน กลุ่มน้อยถึงแม้จะไม่มีกฎหมายมารองรับหรือกำหนดแน่นอนแต่โดยส่วนใหญ่มุสลิม ก็ได้รับสิทธิเหล่านี้ในเกือบทุกประเทศถือเป็นสิทธิส่วนตัวขั้นพื้นฐาน


เมื่อ เป็นเช่นนั้นการดำเนินการเรื่องอาหารฮาลาลในประเทศเหล่านี้จึงเป็นเรื่อง ปกติและเป็นที่รับรู้กันมากขึ้น โดยประเทศที่มีความพร้อมด้านวัตถุดิบและบุคลากรด้วยแล้ว กลับยิ่งได้รับการสนับสนุนในเรื่องอาหารฮาลาล อย่างเต็มที่ ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังในเรื่องการส่งอาหารเหล่านั้นออกไปสู่ตลาดโลกมุสลิมที่ โดยส่วนใหญ่เป็นประเทศที่ไม่มีศักยภาพในการผลิตอาหาร เช่น ประเทศในกลุ่มตะวันออกกลาง


หลายประเทศในเอเชียมีการส่งเสริมเรื่อง การผลิตอาหารฮาลาลอย่างจริงจังเพื่อการส่งออก เช่น ประเทศไทย เพราะมีความพร้อมในทุกๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ แรงงาน ประสบการณ์ และที่สำคัญมีองค์กรศาสนาอิสลามที่เข้มแข็งเป็นที่ยอมรับจากประเทศมุสลิม ทั่วโลก ความพร้อมจากองค์ประกอบเหล่านี้ทำให้รัฐบาลมีนโยบายที่จะส่งเสริมกิจการฮาลา ลเพื่อผลประโยชน์จากการส่งออก ผลิตภัณฑ์ฮาลาลไปสู่ตลาดโลกมุสลิมและประเทศอื่นๆ


ความร่วมมือระหว่าง ภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรศาสนาที่รับผิดชอบ ต่างร่วมกันทุ่มเทเพื่อให้กิจการฮาลาลของประเทศไทยภายใต้เครื่องหมายคำว่าฮา ลาลในกรอบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนเป็นที่ยอมรับทั่วโลก เพียงเวลาไม่ถึง 5 ปี ที่มีการร่วมมือกันอย่างจริงจังได้ปรากฏความสำเร็จเป็นรูปธรรมในวงกว้าง เครื่องหมายรับรองฮาลาลของประเทศไทยได้รับการยอมรับ จากการแข่งขันกับประเทศที่ส่งเสริมกิจการฮาลาลอย่างมาเลเซีย หรืออินโดนีเซียกลายเป็นความร่วมมือ เพราะ ต่างก็เล็งเห็นแล้วว่าตลาดผลิตภัณฑ์ฮาลาลยังมีอีกมากมายที่เรายังก้าวไปไม่ ถึง



ความเข้มงวดต่อผู้ผลิตอาหารฮาลาลในประเทศไทยกลายเป็นจุดแข็งทำ ให้เป็นที่ยอมรับ เนื่องจากผู้ผลิต 90 กว่าเปอร์เซ็นต์ไม่ใช่มุสลิม กระบวนการทุกขั้นตอนของการตรวจสอบ ทั้งที่มาของวัตถุดิบ ส่วนผสม การผลิต การจัดเก็บ จัดส่ง และการจำหน่าย จึงต้องได้รับการตรวจสอบและควบคุมเพื่อให้มั่นใจว่าทั้งกระบวนการฮาลาลอย่าง แน่นอน


ความเข้มงวดเหล่านี้ไม่ปรากฏในประเทศ มุสลิม และไม่มีความจำเป็นสำหรับกระบวนการ เหล่านี้ในประเทศมุสลิม


ดัง นั้นผลิตภัณฑ์บางชนิดบางประเภทที่มีเครื่องหมายฮาลาลที่ถูกส่งไปจำหน่ายใน ประเทศมุสลิมจากประเทศไทยหรือมาเลเซียจึงไม่ได้รับความนิยมหรือความเชื่อ มั่นจากผู้บริโภคในประเทศมุสลิมบางประเทศโดยเฉพาะ อย่างยิ่งแถวตะวันออกกลางและทวีปแอฟริกา ด้วยเหตุผลว่าการตรวจสอบรับรองฮาลาลน่าจะมีขึ้นกับเฉพาะอาหารประเภทที่ต้อง มาจากเนื้อสัตว์ ที่ต้องมีกระบวนการเชือดเท่านั้น ส่วนผลิตภัณฑ์ประเภทอื่นๆ เช่น สัตว์น้ำ ขนม พืชผักการเกษตร ของเหล่านี้ฮาลาลในตัวของมันเองอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องมีการตรวจสอบและมี เครื่องหมายรับรองฮาลาล


นี่คือความรู้สึกและความเข้าใจของกลุ่มคนที่ อยู่ในประเทศมุสลิม เพราะเขาเข้าใจว่า การดำเนินการทั้งระบบตั้งแต่เริ่มต้นการผลิตไปจนถึงการจำหน่าย เป็นไปตามกฎข้อบังคับของศาสนาอิสลามเพราะเขานำไปเปรียบเทียบกับการดำเนินการ ที่มีอยู่ในประเทศของเขา ที่ทั้งผู้ผลิตและผู้ดำเนินการเป็นมุสลิม กระบวนการต่างๆมีหลักการศาสนาอิสลามเป็นตัวกำหนดควบคุมอยู่


ผู้ บริโภคในประเทศเหล่านี้แทบไม่คำนึงถึงการปนเปื้อนจากกระบวนการผลิตเลย จากการที่ผู้ผลิตที่ไม่ใช่มุสลิมไปสัมผัสสิ่งต้องห้ามแล้วมาสัมผัสผลิตภัณฑ์ หรือการปนเปื้อนของภาชนะที่ใส่ของต้องห้าม การปนเปื้อนของส่วนผสมต้องห้ามอื่นๆ เหล่านี้เป็นเรื่องที่ยังไม่เข้าใจกันและไม่ปรากฏในประเทศของเขา

ปัญหา เหล่านี้ดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อยแต่ที่ผ่านมาทำให้การตลาดของกิจการฮาลา ลไทยมีปัญหา ภาครัฐเองที่ไปดำเนินการติดต่อเผยแพร่ในประเทศมุสลิมก็ไม่เข้าใจ เมื่อเกิดปัญหาและมีคำถามขึ้นก็อธิบายไม่ได้เพราะไม่ใช่ผู้ควบคุมและไม่มี ความเข้าใจในประเด็นเหล่านี้ แต่ในระยะหลังรัฐบาลเริ่มทำงานแบบบูรณาการมีการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ กับองค์กรศาสนาซึ่งสามารถอธิบายเรื่องเหล่านี้ให้ประเทศคู่ค้าเหล่านั้นเข้า ใจได้เป็นอย่างดีและสามารถสร้างความเชื่อมั่นได้อย่างรวดเร็ว


ในระยะ แรกภาครัฐหรือผู้ประสานงานคิดว่าปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นเฉพาะกับประเทศไทย บางครั้งคิดไปถึงว่าเครื่องหมายฮาลาลของไทยไม่ได้รับความเชื่อถือ ต้องเป็นของประเทศมาเลเซียเท่านั้น เพราะเห็นว่าของมาเลเซียไม่ค่อยมีปัญหาแต่ความจริงแล้วไม่ใช่เช่นนั้น เพราะมาเลเซียเองก็เคยประสบปัญหาเช่นเดียวกับประเทศไทยเช่นกัน แต่คนของรัฐหรือผู้ประสานงานของมาเลเซียส่วนใหญ่เป็นมุสลิม และเข้าใจในเรื่องนี้จึงสามารถอธิบายและสร้างความกระจ่างได้ ส่วนของไทยในอดีตทำกันแบบขอไปทีและไม่ให้ความสำคัญกับหลักการศาสนาซึ่งเป็น หัวใจของกิจการฮาลาล จึงทำให้เสียโอกาสและเสียเวลาไปหลายปี

กรมส่งเสริมการส่งออก มั่นใจธุรกิจส่งออกอาหารฮาลาล จากไทยในปี 2550 จะสูงกว่าเป้าที่ตั้งไว้


กรม ส่งเสริมการส่งออก มั่นใจธุรกิจส่งออกอาหารจากไทยในปี 2550 จะสูงกว่าเป้าที่ตั้งไว้ พร้อมยอมรับว่ายังกังวลปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น


นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวว่า ธุรกิจส่งออกอาหารของไทยในปี 2550 จะสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้เมื่อต้นปีที่กำหนดการส่งออกอาหารไว้ร้อยละ 9.4 จะสูงเป็นร้อยละ 10 คิดเป็นมูลค่า 14,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้การส่งออกช่วง 9 เดือนที่ผ่านมามีมูลค่าการส่งออกอาหารไปแล้ว 11,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเฉพาะการส่งข้าวสูงถึง 8,500,000 ตัน และเชื่อว่าจะส่งออกได้ถึง 10 ล้านตันอย่างแน่นอน

สำหรับแผนการส่งออก ในปี 2551 เน้นตลาดใหม่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง อาเซียน รวมถึงสหรัฐอเมริกาฯ ที่นำเข้าอาหารจากไทยเป็นอันดับ 1 ทั้งนี้ต้องเร่งพัฒนาผู้ส่งออกของไทยด้านอาหารฮาลาล เพราะกลุ่มประเทศมุสลิมมีประชากรมากถึง 1,800 ล้านคนทั่วโลก อย่างไรก็ตามยอมรับว่ามีความกังวลอย่างมากในเรื่องปัญหาซับไพร์ม และผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการส่งออกของไทยต้องเร่งปรับตัวให้สามารถแข่งขันกับประเทศ คู่แข่งให้ได้

ถ้าต้องการที่จะส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ จะมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?


ธุรกิจการส่งออก นับว่าเป็นธุรกิจอีกแขนงหนึ่งที่มีความสำคัญต่อผู้ประกอบการและเราเป็นจำนวน มากในปีหนึ่ง ๆ และรายได้ เหล่านี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ถูกนำมาใช้พัฒนาและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เกิด ขึ้น ดังนั้นเพื่อให้ธุรกิจการส่งสินค้าออก ของไทยประสบความสำเร็จ และมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มมากขึ้น ผู้ประกอบการที่จะเข้ามาในธุรกิจนี้ จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ขั้นตอน และกระบวนการปฏิบัติต่าง ๆ ในการส่งออกสินค้าให้ดีเสียก่อน



เนื่องจากขั้นตอนการส่งออกสินค้า เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการส่งออกจะต้องทำความเข้าใจและศึกษาข้อปฏิบัติ ให้ถูกต้อง เพื่อให้การประกอบธุรกิจส่งออกเป็นไปอย่างสะดวกและได้รับผลสำเร็จคุ้มค่ากับ ความตั้งใจในการลงทุน


ขั้นตอนการส่งออกประกอบด้วย


1. การจดทะเบียนธุรกิจ
2. การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการขอมีเลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
3. เสนอขายและรับการสั่งซื้อ
4. การเตรียมสินค้า
5. ติดต่อขนส่ง
6. จัดเตรียมเอกสารเพื่อการส่งออก
7. ติดต่อผ่านพิธีการศุลกากร

* พิธีการตรวจเอกสาร
* พิธีการตรวจสินค้า

1. การส่งมอบสินค้า
2. การเรียกเก็บเงินค่าสินค้า
3. ขอรับสิทธิประโยชน์

ถ้าต้องการทำธุรกิจเพื่อส่งออกจะเริ่มต้นหาลูกค้าต่างประเทศได้อย่างไร ?


การที่จะหาลูกค้าต่างประเทศผู้ส่งออกควรมีความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

1. ควรทราบความต้องการของลูกค้าหรือผู้บริโภคของตลาดที่ต้องการส่งสินค้าไปขาย

2. ควรทราบขนาดของตลาดที่ต้องส่งสินค้าไปขาย โดยพิจารณาจาก Population และ Purchasing Power

3. พิจารณาด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และการเมือง ของประเทศที่จะส่งสินค้าไปขายว่ามีความมั่นคงมากน้อยเพียงใด

4. เป็นการพิจารณาด้านแนวโน้มการขยายตัวของการนำเข้า โดยศึกษาได้จากข้อมูลทางสถิติต่าง ๆ ย้อนหลังประมาณ 3 - 5 ปี

5. การศึกษาลู่ทางการจัดจำหน่าย จะทำให้สามารถเลือกติดต่อกับลูกค้าได้ถูกต้อง และเป็นประโยชน์ในการตั้งราคา อีกด้วย

6. ต้องมีความเข้าใจในกฎระเบียบการนำเข้าว่ามีขั้นตอนหรือข้อจำกัดอะไรบ้าง

7. ผู้ส่งออกจะต้องมีความรู้ในด้านเหล่านี้เพื่อจะได้เตรียมพร้อมที่จะส่งออกไปตลาดนั้น ๆ ได้อย่างถูกต้อง

8. ผู้ส่งออกจะต้องศึกษาถึงขั้นตอนและวิธีการส่งออกตลอดจนค่าระวาง และระยะเวลาในการขนส่งเพื่อ จะได้กำหนดวันส่งมอบ สินค้าได้อย่างถูกต้อง

9. ผู้ส่งออกจะต้องมีความเข้าใจว่าประเทศนั้น มีข้อกำหนดอะไรบ้าง เพื่อจะได้เตรียมพร้อมในการแก้ไขปัญหาล่วงหน้า

อาหารฮาลาล : ตลาดใหญ่ที่มีศักยภาพ


ชาว มุสลิมกว่า 1,800 ล้านคนทั่วโลก มีความศรัทธาว่า ?ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ นบีมูฮำหมัดเป็นผู้สื่อ (รอซูล) ของอัลลอฮ? และมุสลิมมีความเชื่ออย่างมั่นใจว่าอัลลอฮคือผู้สร้างมนุษย์และสรรพสิ่งใน จักรวาล ดังนั้น คำบัญชาของอัลลอฮ (อัล-กุรอ่าน) คำสอนและแบบอย่างของนบีมูฮำหมัด (ซุนนะห์) จึงเป็นเรื่องที่มุสลิมจะต้องปฏิบัติตามด้วยความจริงใจและจริงจัง กล่าวคือ ปฏิบัติในสิ่งที่อนุมัติ (ฮาลาล) และไม่ปฏิบัติในสิ่งที่เป็นข้อห้าม (ฮารอม) ด้วยความเต็มใจและยินดี


อาหารฮาลาล จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมุสลิมกว่า 1,800 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งเป็นตัวเลขที่ดึงดูดผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มจากทั่วทุกมุมโลกในการ ผลิตอาหารฮาลาลป้อนตลาดใหญ่ในตะวันออกกลางและตลาดอื่น ๆ ที่ชาวมุสลิมตั้งถิ่นฐานอยู่ แต่จะผลิตอย่างไรทำตลาดอย่างไรนั้น นับเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อน เนื่องจากคำว่า ?ฮาลาล? และ ?ฮารอม? ในอิสลามไม่ได้มีความหมายจำกัดเพียงแต่การบริโภคอาหารเท่านั้น หากแต่ครอบคลุมถึงวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์


อาหารฮาลาลในประเทศไทยที่มีคุณภาพได้มาตรฐานจะมีเครื่องหมายฮาลาลรับรองซึ่ง แต่เดิมสำนักจุฬาราชมนตรีเป็นผู้ให้เครื่องหมายรับรองดังกล่าวมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ปัจจุบันการรับรองเครื่องหมายฮาลาลเป็นบทบาทของสถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาล ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย


ตลาดใหญ่ที่มีศักยภาพ
ทั่วโลกมีชาวมุสลิมกว่า 1,800 ล้านคน อาศัยในแถบตะวันออกกลางประมาณ 400 ล้านคน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 300 ล้านคน เอเชียใต้ 400 ล้านคน เอเชียเหนือ 100 ล้านคน แอฟริกา 200 ล้านคน อเมริกาเหนือ 10 ล้านคน ยุโรป 40 ล้านคน และส่วนอื่น ๆ อีกประมาณ 150 ล้านคน ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่มาก และมีความต้องการอาหารฮาลาลคิดเป็นมูลค่าถึง 150,000 ล้านเหรียญสหรัฐ นับเป็นจำนวนเงินมหาศาล แต่ประเทศไทยส่งออกอาหารฮาลาลเพียงปีละ 0.1% ของมูลค่าทั้งหมด หรือประมาณ 6 พันล้านบาทเท่านั้น หากเราสามารถเพิ่มปริมาณการส่งออกอาหารฮาลาลเพียงแค่ 5% เราจะมีรายได้เข้าประเทศถึงกว่า 3 แสนล้านบาท


ถามว่าเรามีช่องทางในการส่งออกหรือไม่ เราต้องทราบจุดแข็งและจุดอ่อนของเราก่อน เรามีจุดแข็งเป็นประเทศผู้ผลิตอาหารที่มีความพร้อมทั้งด้านทรัพยากรและ เทคโนโลยี รัฐบาลยังได้ประกาศนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ซึ่งเชื่อมโยงกับนโยบายส่งเสริมให้ไทยเป็นครัวของโลก


เรามีจุดอ่อนเช่นกัน ที่สำคัญก็คือเราไม่ใช่ประเทศมุสลิม ซึ่งส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของผู้บริโภคอย่างมาก ประเทศมาเลเซียเป็นประเทศมุสลิมมีการส่งออกอาหารฮาลาล คิดเป็น 6% ของปริมาณทั้งหมด ส่วนอินโดนีเซียส่งออกถึง 9% แต่หากมาพิจารณาจริง ๆ แล้ว ประเทศไทยมีผู้นับถือศาสนาอิสลามถึง 4 ? 5 ล้านคน ซึ่งเทียบเท่าหรือมากกว่าชาวมุสลิมในกลุ่มประเทศแถบอ่าวในตะวันออกกลาง เช่น โอมาน บาห์เรน กาตาร์ คูเวต เสียอีก เรามีมัสยิดกว่า 3,400 แห่งทั่วประเทศ ทั้งยังมีระบบการบริหารจัดการศาสนาอิสลาม โดยมีพระราชบัญญัติกำหนดไว้ชัดเจน สิ่งเหล่านี้ทำให้เราสามารถแปลงจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็งได้ โดยการสร้างความเข้าใจ ความเชื่อมั่น และความน่าเชื่อถือในมาตรฐานอาหารฮาลาลของไทยได้
ด้านการตลาด แต่ก่อนเรายังไม่จริงจังกับการส่งออกอาหารฮาลาลเท่าไรนัก โดยผู้ผลิตมองว่าการผลิตเพื่อจำหน่ายให้กับชาวมุสลิมในประเทศนั้นเป็นกาตลาด ที่เล็กมาก ในขณะที่มาเลเซีย อินโดนีเซีย หรือแม้แต่ประเทศที่ไม่ใช่มุสลิม เช่น ออสเตรเลีย แคนาดา มองเห็นตลาดโลกมุสลิมตรงนี้และบุกทำตลาดอย่างเต็มที่


ประเทศมาเลเซียทำตลาดพุ่งตรงไปหาฐานลูกค้าเลย โดยท่านมหาธีร์มูฮำหมัดในสมัยเป็นนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำทีมนำนักธุรกิจ มุสลิมในมาเลเซียไปบุกตลาดตะวันออกกลาง ซึ่งสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าได้มาก สำหรับของไทยเรามีอาจารย์วันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ซึ่งท่านเป็นผู้กว้างขวางเป็นมนตรีสันนิบาตโลกมุสลิมนำทีมผู้ประกอบการจัดโร ดโชว์ ในตะวันออกกลาง แอฟริกา รัสเซีย อุซเบกิสถาน เป็นต้น เพื่อส่งเสริมและสร้างความน่าเชื่อถือในมาตรฐานอาหารฮาลาลของไทยให้เป็นที่ ยอมรับมากขึ้น


กิจกรรมต่าง ๆ ที่กล่าวมามีเป้าหมายหลักเพื่อสนับสนุนการส่งออกอาหารฮาลาลของไทยที่มี มาตรฐานไปยังตลาดทั่วโลก และนับว่าได้ผลในระดับหนึ่ง เนื่องจากในปัจจุบันผู้ประกอบการไทยหันมาให้ความสนใจตลาดอาหารฮาลาลมากขึ้น

อาหาร ,อาหารเสริม ,เครื่องสำอาง ,เครื่องมือ คือของต้องห้ามในการนำเข้า


คุณรู้หรือเปล่าคะว่ามีกฎหมายข้อหนึ่งว่า "ถ้าไม่หยุดยืนเคารพธงชาติ คุณมีความผิดตาม พระราชบัญญัติวัฒนธรรม" และมีโทษปรับ 200 บาท ค่ะ ดูแล้วอาจจะเห็นว่าไม่มีเหตุผลเอาเสียเลย แต่นั่นแหละค่ะ นี่คือกฎหมาย และเมื่อเราไม่ปฏิบัติตาม เราก็อยู่ในข่ายผิดกฎหมาย คราวนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า เจ้าหน้าที่ (ตำรวจ) เขาจะดำเนินการกับเราหรือเปล่า


การสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศเข้ามา คือ ยา ,อาหารเสริม ,อาหาร (รวมทั้งขนม) ,เครื่องสำอาง และเครื่องมือ (เขาเขียนไว้กว้างๆ ดิฉันก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าเครื่องมือในที่นี้คืออะไร) มันไม่ใช่ยาเสพติดเสียหน่อย ทำไมจะต้องมีการยึดกันด้วย ไม่มีเหตุผลเอาเสียเลย? คำตอบก็เหมือนเรื่องยืนเคารพธงชาตินั่นแหละค่ะ คือเป็นกฎหมาย และเมื่อเราทำผิด (คือสั่งซื้อเข้ามา) ก็ขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่ (ศุลกากร) เขาจะดำเนินการกับเราหรือเปล่า


คุณอาจเคยเห็นเพื่อนคุณสั่งซื้อยา หรืออาหารเสริมเข้ามาได้ ก็เลยลองสั่งซื้อเองดูบ้าง แต่ปรากฏว่าคุณ "โดนยึด" คำตอบก็เหมือนที่ดิฉันพูดถึงข้างบนนั่นแหละค่ะว่า สินค้าพวกนี้มันเข้าข่ายของต้องห้ามอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับว่าเจ้าหน้าที่ (ศุลกากร) เขาจะดำเนินการกับคุณหรือเปล่าเท่านั้น และบังเอิญว่าคุณ "โดน" แต่เพื่อนคุณ "ไม่โดน" เท่านั้นเอง


ส่วนการตีความของคำว่า ยา ,อาหาร ,เครื่องสำอาง ,เครื่องมือ ก็เป็นเรื่องของทางศุลกากรเขาน่ะค่ะ แต่ที่แปลกกว่าประเทศอื่นคือ เขาจะตีความว่า อาหารเสริม (Supplement) เป็นยา (Drug) เสียอย่างนั้น ส่วนอาหาร ก็รวมไปถึงขนมต่างๆด้วยค่ะ ที่ดิฉันอ่านเจอว่าทาง อย.พึ่งยึดไปหมาดๆก็คือช็อคโกแลตจากประเทศอิตาลี ค่ะ ไม่ได้มีส่วนผสมของยาเสพติดอะไรหรอกค่ะ แต่โดนยึดเพราะถือว่าไม่ได้รับอนุญาตสอบจาก อย.นั่นเอง ขนาดขนมยังไม่รอดเลย


กฎหมายเครื่องหมายการค้าสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการนำเข้า (Importation of goods bearing infringing marks or names forbidden)


Except as provided in subsection (d) of section 1526 of title 19, no article of imported merchandise which shall copy or simulate the name of any domestic manufacture, or manufacturer, or trader, or of any manufacturer or trader located in any foreign country which, by treaty, convention, or law affords similar privileges to citizens of the United States, or which shall copy or simulate a trademark registered in accordance with the provisions of this chapter or shall bear a name or mark calculated to induce the public to believe that the article is manufactured in the United States, or that it is manufactured in any foreign country or locality other than the country or locality in which it is in fact manufactured, shall be admitted to entry at any customhouse of the United States; and, in order to aid the officers of the customs in enforcing this prohibition, any domestic manufacturer or trader, and any foreign manufacturer or trader, who is entitled under the provisions of a treaty, convention, declaration, or agreement between the United States and any foreign country to the advantages afforded by law to citizens of the United States in respect to trademarks and commercial names, may require his name and residence, and the name of the locality in which his goods are manufactured, and a copy of the certificate of registration of his trademark, issued in accordance with the provisions of this chapter, to be recorded in books which shall be kept for this purpose in the Department of the Treasury, under such regulations as the Secretary of the Treasury shall prescribe, and may furnish to the Department facsimiles of his name, the name of the locality in which his goods are manufactured, or of his registered trademark, and thereupon the Secretary of the Treasury shall cause one or more copies of the same to be transmitted to each collector or other proper officer of customs.

กฎหมายลิขสิทธิ์สหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการนำเข้า(Infringing importation of copies or phonorecords)


Infringing importation of copies or phonorecords

(a) Importation into the United States, without the authority of the owner of copyright under this title, of copies or phonorecords of a work that have been acquired outside the United States is an infringement of the exclusive right to distribute copies or phonorecords under section 106, actionable under section 501. This subsection does not apply to—

(1) importation of copies or phonorecords under the authority or for the use of the Government of the United States or of any State or political subdivision of a State, but not including copies or phonorecords for use in schools, or copies of any audiovisual work imported for purposes other than archival use;

(2) importation, for the private use of the importer and not for distribution, by any person with respect to no more than one copy or phonorecord of any one work at any one time, or by any person arriving from outside the United States with respect to copies or phonorecords forming part of such person’s personal baggage; or

(3) importation by or for an organization operated for scholarly, educational, or religious purposes and not for private gain, with respect to no more than one copy of an audiovisual work solely for its archival purposes, and no more than five copies or phonorecords of any other work for its library lending or archival purposes, unless the importation of such copies or phonorecords is part of an activity consisting of systematic reproduction or distribution, engaged in by such organization in violation of the provisions of section 108 (g)(2).(b) In a case where the making of the copies or phonorecords would have constituted an infringement of copyright if this title had been applicable, their importation is prohibited. In a case where the copies or phonorecords were lawfully made, the United States Customs Service has no authority to prevent their importation unless the provisions of section 601 are applicable. In either case, the Secretary of the Treasury is authorized to prescribe, by regulation, a procedure under which any person claiming an interest in the copyright in a particular work may, upon payment of a specified fee, be entitled to notification by the Customs Service of the importation of articles that appear to be copies or phonorecords of the work.

source:http://www4.law.cornell.edu/uscode/17/602.html

ตัวอย่างสินค้าที่อาจถูกจำกัดการนำเข้าของสหรัฐอเมริกา


ตัวอย่างสินค้าที่อาจถูกจำกัดการนำเข้า:

  • สินค้าที่มีลิขสิทธิ์: เจ้าของลิขสิทธิ์วรรณกรรม เพลง ภาพยนตร์ ซอฟต์แวร์ วิดีโอเกม และภาพถ่ายมีสิทธิ์ตามกฎหมายลิขสิทธิ์ของอเมริกาเพื่อป้องกันการนำเข้า สินค้าที่ผลิตเพื่อวางขายในประเทศอื่น การนำเข้าสินค้าเหล่านี้เข้ามายังสหรัฐอเมริกาโดยไม่ได้รับอนุญาตอาจถือเป็น การละเมิดกฎหมาย แม้ว่าสินค้าเป็นสำเนาของแท้และถูกกฎหมายสำหรับการจำหน่ายในประเทศอื่น

  • สินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า (มีแบรนด์): เจ้าของเครื่องหมายการค้าของสินค้ามีแบรนด์ซึ่งมีสิทธิ์ภายใต้กฎหมายเครื่อง หมายการค้าของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันไม่ให้มีการนำเข้าสินค้าซึ่งผลิตขึ้นเพื่อขาย ในประเทศอื่น การนำเข้าสินค้าเหล่านี้เข้ามายังสหรัฐอเมริกาโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลาย ลักษณ์อักษรอาจถือเป็นการละเมิดกฎหมาย แม้ว่าสินค้าเป็นสำเนาของแท้และถูกกฎหมายสำหรับการจำหน่ายในประเทศอื่น

  • สินค้าที่มีสิทธิบัตร: เจ้าของสิทธิบัตรที่สิทธิภายใต้กฎหมายสิทธิบัตรสหรัฐอเมริกาเพื่อป้องกันการ นำเข้าสินค้าที่มีเทคโนโลยีซึ่งได้รับการคุ้มครองโดยสิทธิบัตรสหรัฐอเมริกา การนำเข้าสินค้าเหล่านั้นมายังสหรัฐอเมริกาโดยไม่ได้รับอนุญาตอาจเป็นการ ละเมิดกฎหมาย แม้ว่าสินค้าเป็นสำเนาของแท้และถูกกฎหมายสำหรับการจำหน่ายในประเทศอื่น

ตัวอย่างสินค้าที่อาจละเมิดลิขสิทธิ์:

  • ซีดีเพลงที่ขายในประเทศอังกฤษเท่านั้น (แม้ว่าจะเป็นแผ่นจริง)

  • วิดีโอผลิตขึ้นเพื่อขายในแคนาดา (แม้ว่าจะเป็นวิดีโอของจริง)

  • เครื่อง เล่นวิดีโอเกมหรือซอฟต์แวร์ที่เป็นภาษาญี่ปุ่นหรือเกมที่ไม่ได้ผลิตเพื่อขาย ในสหรัฐอเมริกา (โปรดทราบว่าข้อเสนอ "mod chips," "emulators" หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานสินค้าที่ไม่ได้รับอนุญาตอาจเป็นการละเมิดกฎหมาย ลิขสิทธิ์)

  • ฮาร์ดไดรฟ์คอมพิวเตอร์ที่ใช้กระบวนการหรือเทคโนโลยีที่จดสิทธิบัตรในสหรัฐอเมริกา

  • เสื้อยืดที่มีโลโก้ที่ไม่สามารถใช้นอกประเทศได้

  • ของเล่น Pokemon® ที่ผลิตเพื่อขายในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น

การนำเข้าสินค้ามายังสหรัฐอเมริกา


สมาชิกที่นำเข้าสินค้าจากประเทศอื่นมายังสหรัฐอเมริกา ทั้งการขายหรือซื้อสินค้าที่ประกาศขายในอีเบย์ จะต้องรับผิดชอบเพื่อยืนยันว่าการนำเข้าสินค้าเหล่านั้นเป็นไปตามกฎหมายของ สหรัฐอเมริกา กฎหมายเหล่านี้มักมีความซับซ้อน และประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นมีหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับสินค้าที่เกี่ยวข้องและประเทศที่ผู้ ซื้อและผู้ขายอาศัยอยู่


การฝ่าฝืนนโยบายอาจจะเกิดผลตามมาได้หลายอย่างรวมไปถึง


  • การยกเลิกรายการประกาศขาย

  • การจำกัดสิทธิการใช้งานแอคเคานต์

  • การระงับใช้งานแอคเคานต์

  • ยึดค่าธรรมเนียมรายการประกาศขายที่ถูกยกเลิก

  • สูญเสียสถานะ PowerSeller

รายชื่อบริษัทที่สนใจติดต่อกับผู้ประกอบการไทย


สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเอเธนส์ แจ้งว่า นักธุรกิจกรีซสนใจติดต่อและสั่งซื้อสินค้าและบริการของไทย ดังนี้ 1. บริษัท Eleftheria Spanelia (ติดต่อที่ Eirinis St., Alexandropoly 68100 Greece Tel./Fax. (30 – 210) 25510 – 38368) สนใจสั่งซื้อ เครื่องประดับเงินและอัญมณี 2. บริษัท Dora Daraklitsa (ติดต่อที่ Tel. (30 694) 256 - 8007 E-mail: dora5375@yahoo.gr สนใจสั่งซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูป 3. บริษัท Sykovalas Alexandros (ติดต่อที่ Tel. (30 238) 107 - 2049, (30 693) 272 - 2034 Fax. (30 238) 1072 4449) สนใจสั่งซื้อ ตู้แช่เย็น/แช่แข็ง และชั้นวางของ


สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน รายงาน ว่า บริษัท Clearwater Filtration Ltd. ของอังกฤษ ซึ่งทำธุรกิจครบวงจรเกี่ยวกับเทคนิคการบำบัดน้ำ (water disinfection and treatment, waste water treatment) มีความเชี่ยวชาญในการบำบัดน้ำสำหรับโรงงาน โรงพยาบาล ชุมชนแหล่งที่อยู่อาศัย และมีประสบการณ์ทั้งในสหราชอาณาจักร ยุโรปและเอเชีย ประสงค์จะหาคู่ค้ากับบริษัทไทยเพื่อขยายธุรกิจในประเทศไทย

สถานเอกอัครราชทูตฯ เห็นว่า บริษัทฯ อาจมีเทคโนโลยีที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์กับประเทศไทย ผู้สนใจสามารถติดต่อบริษัทฯ ได้โดยตรงที่Clearwater Filtration Ltd. -

1 Queens Drive
, New Port, Shropshire, TF10 7EU, United Kingdom Tel. (44 - 19) 5281-1444 Mobile (44 - 78) 8669 - 7934
E-mail
:
Rodney.pitt@clearwater-filtration.com


สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี สมาพันธ์อุตสาหกรรมอินเดีย (Confederation of Indian Industry - CII) เชิญภาครัฐและภาคเอกชนไทยเข้าร่วมงาน International Engineering and Technology Fair ครั้งที่ 18 (IETF 2009) ระหว่างวันที่ 23-26 กุมภาพันธ์ 2552 ที่ Bangalore International Exhibition Centre (BIEC) เมืองบังกาลอร์ โดยเป็นการประชุมและแสดงสินค้าเทคโนโลยีวิศวกรรมและอุตสาหกรรมการผลิตในสาขา ต่างๆ ได้แก่ ยานยนต์ พลังงาน และสิ่งแวดล้อม การบริการ การผลิต และความปลอดภัย ผู้สนใจสามารถติดต่อขอรับรายละเอียดเพิ่มเติมโดยตรงได้ที่ Trade Fairs Division, Confederation of Indian Industry, 249 - F, Udyog Vihar, Phase IV, Sector 18, Gurgaon 122015 (Haryana) India Tel. (91 12) 4401 4060 to 67, 4401 - 4088 Fax. (91 12) 4423 4170, 4401 - 4083 Website : www.ietfindia.in E-mail: ciico@ciionline.org , gurpal.singh@ciionline.org , rajesh.wadhwa@ciionline.org, roy.jacob@ciionline.org, sujata.sudarshan@ciionline.org

กลยุทธ์และแผนส่งเสริมการส่งออกปี 2551และ 2552


กลยุทธ์และแผนส่งเสริมการส่งออกในปี 2551 จะเป็นการดำเนินการที่ต่อเนื่องจากปี 2550 แต่จะเพิ่มการดำเนินการที่เข้มข้นมากขึ้น ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ได้แก่
1.ใช้การเจรจาการค้า เป็นตัวนำในการเปิดตลาดและแก้ไขปัญหาการกีดกันทางการค้า ในทุกระดับ และทุกเวที


2.ส่งเสริมการส่งออกเพื่อรักษาตลาดหลักไม่ให้การส่งออกลดลง เนื่องจากเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อสูง มีสัดส่วนการส่งออกประมาณร้อยละ 55 โดยจะยังคงกิจกรรมส่งเสริมการส่งออก ในระดับเดิมรวมทั้งการดำเนินมาตรการตลาดเชิงรุกมุ่งเจาะเข้าไปยังช่องทาง และกลุ่มลูกค้าเป้าหมายใหม่ๆ ทำ business matching นำสินค้าคุณภาพดีที่ได้รับตราสัญลักษณ์สินค้าไทย (Thailand s Brand) และสินค้าที่ได้รับการพัฒนาคุณภาพให้ได้มาตรฐานสากลและมีรูปแบบตรงกับความ ต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย โดยนำผู้ผลิต/ผู้ส่งออกเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกต่างๆ


3.เร่งส่งเสริมการส่งออกในตลาดใหม่ๆ ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกประมาณร้อยละ 45 โดยเฉพาะประเทศอาเซียน จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง ยุโรปตะวันออกและแอฟริกา ซึ่งผู้บริโภคนิยมสินค้าไทยและให้คุณค่ามากกว่าคู่แข่ง โดยการจัดแสดงสินค้าและนำนักธุรกิจจากประเทศในตลาดใหม่เดินทางมาเจรจาการค้า และหาลู่ทางการขยายความร่วมมือระหว่างกัน


4.เพิ่มการส่งเสริมธุรกิจบริการอย่างเข้มข้นเพื่อให้ทำการค้าต่างประเทศ เพิ่มมากยิ่งขึ้น ทั้งในส่วนของธุรกิจริการที่ได้ดำเนินการอยู่แล้ว คือ ร้านอาหารไทย บันเทิง การศึกษา สปา โรงพยาบาล และะรกิจบริการใหม่ๆ คือ แฟรนไชส์ การออกแบบ/ก่อสร้างอู่ซ่อมรถและธุรกิจการรับตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปผ่าน อินเตอร์เน็ตให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในต่างประเทศให้มากขึ้น


5.การสร้างและพัฒนาผู้ประกอการรายใหม่ในภูมิภาคให้เพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน ( ปี 2550) ที่มีอยู่ 3,371 ราย ซึ่งในปีงบประมาณ 2551 มีเป้าหมายเพิ่มขึ้น 2,100 ราย โดยพัฒนาให้สามารถส่งออกได้ โดยเฉพาะผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs และ OTOP


6.ส่งเสริมและพัฒนาย่านการค้านานาชาติเอกชน ในชุมชนต่างๆที่มีการค้าอยู่เดิม โดยการสนับสนุนกลุ่มธุรกิจต่างๆเหล่านี้ให้สามารถส่งออกได้ และพัฒนาย่านการค้าเหล่านี้ให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจนานาชาติ พร้อมทั้งสร้างภาพลักษณ์ย่านการค้านานชาติให้เป็นที่รู้จักในระดับโลก เช่น สีลม สุรวงศ์และมเหสักข์ เป็นศูนย์กลางการค้านานาชาติชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ของไทย ใบหยก/โบ๊เบ๊ เป็นศูนย์กลางการค้านานาชาติเสื้อผ้าส่งออก เป็นต้น


7.การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยไปดำเนินธุรกิจการผลิต การบริการในต่างประเทศ ให้มากขึ้นทั้งในเรื่องการลงทุนตั้งโรงงานผลิตสินค้าในสาขาที่ไทยมีความเข้ม แข็งและมีความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน เช่น อาหาร อาหารเพื่อสุขภาพ การเกษตร อุตสาหกรรมเกษตร ก่อสร้าง พลังงาน สุขอนามัย เป็นต้น การเปิดสาขา หาตัวแทนและหุ้นส่วนในต่างประเทศเพื่อสร้างเครือข่ายธุรกิจไทยในต่างประเทศ แสวงหาวัตถุดิบรวมทั้งสร้างตราสินค้าไทย


8.สนับสนุนการลดต้นทุนในระบบ Trade Logistics โดยดำเนินการพัฒนาระบบ e- Logistics เพื่อนำไปสู่การให้บริการแบบ Electronic certification ทั้งภายในและต่างประเทศ


9.การพัฒนารูปแบบและคุณภาพสินค้า เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและธุรกิจบริการของไทย เช่น พัฒนาการออกแบสินค้าและบรรจุภัณฑ์ การส่งเสริมการใช้ตราสัญลักษณ์สินค้าไทย เป็นต้น

ปัญหาเร่งด่วนที่กระทบต่อการส่งออก


- ต้นทุนการผลิตในประเทศที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของราคา น้ำมัน ทั้งต้นทุนค่าวัตถุดิบ ค่าสาธารณูปโภค ค่าขนส่ง ค่าระวางเรือ รวมทั้งแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่อาจจะมีการปรับสูงขึ้นเพื่อลดแรงกดดันจาก ปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งจะกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยอย่างมาก
- ปัญหาภายในประเทศที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าสำคัญ โดยเฉพาะปัญหาการแข็งค่าของเงินบาท ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมต่างๆที่ยังมีอยู่ โดยเป็นการขาดแคลนทั้งแรงงานที่มีฝีมือและแรงงานทั่วไป การเพิ่มขึ้นของค่าแรงงานในประเทศและปัญหาราคาวัตถุดิบที่มีแนวโน้มปรับตัว สูงขึ้น รวมทั้งการขาดแคลนวัตถุดิบในอุตสาหกรรมส่งออกสำคัญ ได้แก่ อาหารทะเล(ปลาทูน่า) ไม้ และอัญมณี เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลระทบต่อการส่งออก


- ทิศทาง และแนวโน้มของราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีการปรับตัวสูงขึ้นและมีความผันผวนค่อนข้างมาก
- ทิศทาง และแนวโน้มของเศรษฐกิจของตลาดส่งออกสำคัญ โดยเฉพาะสหรัฐฯจากผลกระทบจากปัญหาสินเชื่อ Sub-prime และอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อภาวะเศรษฐกิจและการค้าของประเทศอื่นๆที่เป็น คู่ค้ากับสหรัฐฯ
- ทิศทาง และแนวโน้มของค่าเงินบาทและเสถียรภาพของค่าเงินบาท
- มาตรการกีดกันทางการค้า ที่ไม่ใช่ภาษี ของตลาดส่งออก ที่สำคัญของไทย ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างมาก โดยเฉพาะในตลาดส่งออกหลัก สหรัฐฯ สหภาพยุโรปและญี่ปุ่น

ปัจจัยที่สนับสนุนการขยายตัวของการส่งออกในปี 2551


- ภาวะเศรษฐกิจของโลกและตลาดส่งออกสำคัญ ในปี 2551 ยังขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่อัตราการขยายตัวมีแนวโน้มชะลอตัวลง จากร้อยละ 5.2 เป็นร้อยละ 4.8 ในปี 2551 โดยเฉพาะในตลาดส่งออกหลักที่สำคัญ คือ สหรัฐ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรปและประเทศในแถบเอเชีย ที่คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 1.9 ,1.7,2.1 และ 8.8 ตามลำดับ ขณะที่ปริมาณการค้าของโลกคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากร้อยละ 6.6 ในปี 2550 เป็นร้อยละ 6.7 ในปี 2551

- ผู้ประกอบการไทยได้รับการยอมรับในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐาน มีความซื่อสัตย์และตรงต่อเวลามากกว่าประเทศคู่แข่ง ทำให้ผู้ซื้อในต่างประเทศกลับมาซื้อสินค้าจากไทยเพิ่มมากขึ้นรวมทั้งคู่แข่ง มีการลดการอุดหนุนการส่งออก ทำให้สินค้าไทยมีโอกาสในการขยายการส่งออกมากขึ้น
- แนวโน้มราคาสินค้าเกษตรจะยังคงดีต่อเนื่อง โดยเฉพาะข้าว มันสำปะหลังและธัญพืชอื่นๆ เนื่องจากความต้องการในตลาดโลกยังมีอยู่สูง

- ผลประโยชน์จากการจัดทำ FTA ของไทยกับประเทศต่างๆ เป็นอกาสในการขยายการส่งออก ไปยังประเทศเหล่านี้ ทั้ง จีน อินเดีย ออสเตรเลีย โดยเฉพาะการจัดทำ JTEPA ระหว่างญี่ปุ่น และการขยายความร่วมมือในการจัดทำ FTA ไทยกับอินเดีย(กำลังดำเนินการ)

-ความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนในการดำเนินมาตรการเชิงรุกในการบุกเบิก และขยายตลาดอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง ทั้งในตลาดหลักและตลาดใหม่ ซึ่งจะเพิ่มการดำเนินการที่เข้มข้นมากขึ้นทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ รวมทั้งการดำเนินมาตรการใหม่ๆ เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้นในปี 2551 ซึ่งจะมีผลทำให้การส่งออกไปยังตลาดต่างๆโดยเฉพาะตลาดใหม่สามารถขยายตัวอย่าง ต่อเนื่อง

ตลาดส่งออกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นทั้งในตลาดหลักและตลาดใหม่


- การส่งออกในตลาดหลัก คาดว่าการส่งออกจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 7.1 มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 50.9 ของมูลค่าส่งออกรวม ได้แก่ สหรัฐฯร้อยละ 2 ญี่ปุ่นร้อยละ 10 สหภาพยุโรป(15 ประเทศ ) ร้อยละ 7 และอาเซียน(5 ประเทศ) ร้อยละ 9.1

- การส่งออกในตลาดใหม่ คาดว่าการส่งออกจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องประมาณร้อยละ 18.7 มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 49.1 ของมูลค่าส่งออกรวม โดยประเทศที่คาดว่าจะมีการส่งออกเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ ลาตินอเมริกา(ร้อยละ 25) ยุโรปตะวันออก(ร้อยละ 25)อินโดจีนและพม่าร้อยละ 20) ตะวันออกลาง(ร้อยละ 20)แอฟริการ(ร้อยละ 20) และตลาดที่มีการจัดทำ FTA ได้แก่ อินเดีย(ร้อยละ 40) ออสเตรเลีย(ร้อยละ 20) จีน(ร้อยละ 20)

ติดตามทิศทางการส่งออกสินค้า ปี 51 และยุทธศาสตร์สินค้าส่งออก จากกระทรวงพาณิชย์


กลุ่ม สินค้าส่งออกนับเป็นสินค้าที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง เพราะสินค้าเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะนำเงินตราเข้าสู่ประเทศเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวแทนในการประกาศให้ชาวโลกได้รู้จักชื่อเสียงของประเทศไทยอีก ด้วยหน่วยงานที่เรียกได้ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงพร้อมทั้งสนับสนุนการส่ง ออกสินค้าไทยสู่ต่างแดนก็คือ กระทรวงพาณิชย์ นั่นเอง


เมื่อกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมา นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้แถลงถึงสถานการณ์การส่งออกสินค้าของไทยในปี 2550 และประมาณการสินค้าส่งออกปี 2551 พร้อมแถลงยุทธศาสตร์ในการพัฒนาสินค้าส่งออกของประเทศ ซึ่งเชื่อว่าข้อมูลในส่วนนี้คงจะทำให้ผู้ประกอบการได้รับทราบและกำหนดทิศทาง ในการพัฒนาสินค้าสู่ตลาดส่งออกได้ตรงเป้ามากขึ้น


ในปี 2550 คาว่าน่าจะสามารถมูลค่าการส่งออกประมาณ 150.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ร้อยละ 16.1 สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 12.5 คิดเป็นมูลค่า 145.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ในปี 2551 คาว่าการส่งออกจะยังขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2550 แต่อัตราการขยายตัวจะชะลอลงจากปี 2550 โดยมีสมมติฐานที่สำคัญ 2 ประการ คือ ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพและมีค่าเฉลี่ยประมาณ 33.50 บาท/เหรียญสหรัฐฯ และราคน้ำมันดิบดูไบในปี 2551 โดยเฉลี่ยประมาณ 85 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล


การส่งออกสินค้าสำคัญคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในทุกหมวด
- กลุ่มสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมเกษตร คาดว่าปริมาณการส่งออกจะเพิ่มขึ้น 4.4% มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 13.8 ของมูลค่าส่งออกรวม สินค้าสำคัญที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ได้แก่ ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังและสินค้าอาหาร(อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ไก่แช่แข็งและแปรรูป ผักและผลไม้สดแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป)


- กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10.7 มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 67.3 ของมูลค่าส่งออกรวม สินค้าสำคัญส่วนใหญ่คาว่าจะยังคงส่งออกเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ สิ่งทอ เม็ดพลาสติก วัสดุก่อสร้าง อัญมณี ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งพิมพ์ กระดาษและบรรจุภัณฑ์ เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เภสัช/เครื่องมือแพทย์

ลักษณะการจดทะเบียนธุรกิจ


1. กิจการร้านค้าเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนสามัญ
2. นิติบุคคล แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
2.1 บริษัทจำกัด
2.2 ห้างหุ้นส่วน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
2.2.1 ห้างหุ้นส่วนจำกัด
2.2.2 ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล


.: สำหรับสถานที่จดทะเบียน คือ :.

1. กรุงเทพมหานคร
1.1 สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 1 (มหาราช) โทร. 0-2622-0569 ถึง 70
1.2 สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 2 (ถ.พระราม 6) โทร. 0-2618-3340 ถึง 41 และ 45
1.3 สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 3 (รัชดาภิเษก) โทร. 0-2276-7266
1.4 สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 4 (สีลม) โทร. 0-2630-4696 ถึง 97
1.5 สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 5 (รัชดาภิเษก) โทร. 0-2276-7255-6
1.6 สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 6 (ศรีนครินทร์) โทร. 0-2722-8366, 68 และ 77
1.7 สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 7 (รัชดาภิเษก) โทร. 0-2276-7251 และ 53
1.8 ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง (อาคารกรมพัฒนาธุรกิจ จ.นนทบุรี) โทร. 0-2547-4423 ถึง 24


2. ต่างจังหวัด ที่สำนักงานทะเบียนการค้าจังหวัด 75 จังหวัด
นอกจากนี้ สามารถจดทะเบียนธุรกิจทาง Internet ได้ที่ www.thairegistration.com


เมื่อจดทะเบียนธุรกิจแล้ว ก็ต้องติดต่อกรมสรรพากรเพื่อขอมีเลข และบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร หากมีรายรับจากการขายสินค้า หรือให้บริการเกินกว่า 1.2 ล้านบาทต่อปี ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มีผู้ประกอบการบางประเภท ที่ไม่ต้องจดทะเบียน หรือได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่ามูลค่าเพิ่ม เช่น การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคม อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่ก็สามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ เป็นต้น


.: การดำเนินการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถติดต่อขอรายละเอียดและจดทะเบียนได้ที่ :.

กรุงเทพฯ - สำนักงานสรรพากรเขต สำนักงานสรรพากรเขต (สาขา) หรือ สำนักงานสรรพากรที่สถานประกอบการตั้งอยู่
- สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่


ต่างจังหวัด - สำนักงานสรรพากรอำเภอ สำนักงานสรรพากรอำเภอ (สาขา)
หรือ สำนักงานสรรพากรกิ่งอำเภอที่สถานประกอบการตั้งอยู่


อันดับ แรกของการประกอบธุรกิจส่งออก ผู้ประกอบการต้องเข้าใจถึงลักษณะการส่งออกของประเทศไทยก่อน ซึ่งประเทศเราเป็นประเทศกำลังพัฒนาและมีเสรีทางการค้า ฉะนั้น ในสินค้าบางตัวก็เป็นสินค้าที่มีความสำคัญและอาจส่งผลด้านเศรษฐกิจแก่ ประชาชน ดังนั้น ผู้ที่จะประกอบธุรกิจส่งออก จึงจำเป็นต้องศึกษากฎเกณฑ์ และระเบียบอันเกี่ยวข้องกับการส่งออก โดยเฉพาะกฎหมายเกี่ยวกับศุลกากร กฎหมายพิกัดอัตราอากรขาเข้าขาออกของสินค้าที่ได้รับการยกเว้นอากร กฎหมายควบคุมสินค้าขาออก ทั้งนี้ เพื่อให้มีความเข้าใจอย่างถูกต้องตรงกัน

ขั้นตอนการส่งออกสินค้า


ธุรกิจการส่งออก นับว่าเป็นธุรกิจอีกแขนงหนึ่งที่มีความสำคัญต่อผู้ประกอบการเองและประเทศ ชาติ เนื่องจากเป็นธุรกิจที่สามารถนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาสู่ประเทศไทยเราเป็น จำนวนมากในปีหนึ่งๆ และรายได้เหล่านี้ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ถูกนำมาใช้พัฒนาและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น


ดัง นั้น เพื่อให้ธุรกิจการส่งสินค้าออกของไทยประสบความสำเร็จ และมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มมากขึ้น ผู้ประกอบการที่จะเข้ามาในธุรกิจนี้ จึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ขั้นตอนและกระบวนการปฏิบัติต่างๆ ในการส่งออกสินค้าให้ดีเสียก่อน


เนื่องจากขั้นตอนการส่งออก สินค้า เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบธุรกิจส่งออก จะต้องทำความเข้าใจและศึกษาข้อปฏิบัติให้ถูกต้อง เพื่อให้การประกอบธุรกิจส่งออก เป็นไปอย่างสะดวกและได้รับผลสำเร็จคุ้มค่ากับความตั้งใจการลงทุน


: ขั้นตอนการส่งออกประกอบด้วย :.

1. การจดทะเบียนพาณิชย์
2. การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการขอมีเลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
3. เสนอขายและรับการสั่งซื้อ
4. การเตรียมสินค้า
5. ติดต่อขนส่ง
6. จัดเตรียมเอกสารเพื่อการส่งออก
7. ติดต่อผ่านพิธีการศุลกากร
• พิธีการตรวจเอกสาร
• พิธีการตรวจสินค้า
8. การส่งมอบสินค้า
9. การเรียกเก็บเงินค่าสินค้า
10. ขอรับสิทธิประโยชน์

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์การนำเข้าและการส่งออก(Welcome to Import-Export Blog)


ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์การนำเข้าและการส่งออก(Welcome to Import-Export Blog) ในเนื้อหาของบล็อกจะประกอบไปด้วยเนื้อหาของการนำเข้าและการส่งออกซึ่งสามารถ นำไปประกอบการศึกษาวิธีการนำเข้าและส่งออกสินค้าได้เป็นอย่างดี