สินค้าฮาลาล Halal Logo เพื่อการนำเข้าและส่งออก

Monday 2 March 2009

ป็นเรื่องแปลกขึ้นมาทันทีเมื่อผู้บริโภคในประเทศมุสลิมบาง ประเทศเกิดความไม่มั่นใจเมื่อพบเห็นเครื่องหมายรับรองฮาลาล บนผลิตภัณฑ์ที่นอกเหนือจากสัตว์ที่ต้องเชือด ทำให้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นเป็นจุดอ่อน ของกิจการฮาลาลไทยทันที


ศาสนา อิสลามเป็นศาสนาสากลสำหรับมนุษยชาติ มีผู้นับถือในปัจจุบันเกือบกว่าสองพันล้านคน หรือประมาณเกือบ 1 ใน 3 ของประชากรโลก โดยทั่วไปแล้วเมื่อเอ่ยถึงมุสลิมผู้คนส่วนใหญ่จะคิดไปถึงผู้คนในกลุ่มประเทศ ตะวันออกกลางซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนา และประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม แต่ความจริงแล้วมุสลิมไม่ได้มีจำนวนมากเฉพาะในภูมิภาคนั้น แต่กระจัดกระจายไปทั่วทุกมุมโลก ในตะวันออกกลางมีจำนวนมุสลิมเพียง 15-20% ของจำนวนมุสลิมทั้งหมดเท่านั้น


ศาสนาอิสลามถูกเผยแพร่ออกไปทั่วโลก จึงทำให้มีมุสลิมอยู่ทั่วทุกภูมิภาคไม่ว่า จะในเอเชีย ยุโรป อเมริกา ฯลฯ พื้นที่ที่มีมุสลิมน้อย จนเทียบเปอร์เซ็นต์ไม่ได้ก็เห็นจะเป็นแถบกลุ่มสแกนดิเนเวีย


จากการ กระจัดกระจายออกไปทำให้เกิดความแตกต่างในวัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิตถึงแม้ว่าจะมีหลักการยึดมั่นในศาสนาเดียว กันก็ตาม แต่อะไรก็ตามที่เป็นกฎเกณฑ์ข้อบังคับ ของศาสนามุสลิมทุกคนก็จะยึดมั่นละปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกันตามคำสอนและหลัก ฐานที่ปรากฏโดยเฉพาะเรื่องของอาหารการกินที่มีข้อบังคับตายตัวว่าจะต้องเป็น อย่างไร


แต่นั่นไม่ได้หมายความว่ามุสลิมทุกคนจะต้องบริโภคอาหารชนิด เดียวกันหรือประเภท เดียวกัน แต่จะต้องบริโภคโดยวิธีการและเงื่อนไขเดียวกันตามข้อกำหนดที่เรียกและเข้าใจ กันคือคำว่า “อาหารฮาลาล”


อาหารฮาลาล เป็นอาหารตามข้อกำหนด ที่พระผู้เป็นเจ้ากำหนดขึ้นสำหรับมนุษยชาติทั้งหมดมิใช่กับเฉพาะมุสลิมหรือ คนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดเท่านั้น อาหารฮาลาลจะต้องเป็นอาหาร ที่มีประโยชน์ มีโภชนาการถูกหลักสุขอนามัย เพราะอาหารฮาลาลได้ถูกกำหนดควบคู่กับอาหารที่ดี นั้นก็คือ ฮาลาลตอยยิบ ซึ่งแปลว่า อนุมัติในสิ่งทีดี


เมื่อมุสลิมที่อยู่ทุกส่วนทุกประเทศ บางประเทศเป็นคนกลุ่มใหญ่ บางประเทศเป็นคนกลุ่มน้อย ในประเทศที่มีมุสลิมเป็นคนกลุ่มใหญ่มีผู้ปกครองเป็นมุสลิมสภาพโดยรวมที่ เกี่ยวข้องกับการดำเนินวิถีชีวิตมักไม่มีอะไรขัดแย้งกับหลักการของศาสนาโดย เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับ ฮาลาล-ฮารอม (ข้ออนุมัติ-ข้อห้าม) เช่น เรื่องการแต่งกายและการบริโภค เพราะโดยภาพรวมจะต้องยึดมั่นอยู่ในหลักการศาสนา อยู่แล้ว


ส่วนใน ประเทศที่มีมุสลิมเป็นคนกลุ่มน้อย ผู้ปกครองประเทศไม่ใช่มุสลิม กฎเกณฑ์ข้อบังคับตามหลักศาสนาอิสลามไม่สามารถนำมาบังคับใช้ได้ในสังคมโดยรวม กฎเกณฑ์ต่างๆ ตามหลักศาสนาก็จะถูกกำหนดขึ้นเพื่อใช้กับบุคคลเฉพาะกลุ่ม บางเรื่องมีกฎหมายรองรับบางเรื่องก็ไม่มีขึ้นอยู่กับองค์กรศาสนาในประเทศ นั้นๆ ว่าจะดำเนินการอย่างไรและขึ้นอยู่ กับรัฐบาลในประเทศนั้นๆ จะอนุมัติให้มีกฎข้อบังคับเหล่านั้นหรือไม่


ที่สำคัญคือเรื่องการ แต่งกายและเรื่องการบริโภคทั้งสองเรื่องนี้สำหรับประเทศที่มุสลิมเป็นคน กลุ่มน้อยถึงแม้จะไม่มีกฎหมายมารองรับหรือกำหนดแน่นอนแต่โดยส่วนใหญ่มุสลิม ก็ได้รับสิทธิเหล่านี้ในเกือบทุกประเทศถือเป็นสิทธิส่วนตัวขั้นพื้นฐาน


เมื่อ เป็นเช่นนั้นการดำเนินการเรื่องอาหารฮาลาลในประเทศเหล่านี้จึงเป็นเรื่อง ปกติและเป็นที่รับรู้กันมากขึ้น โดยประเทศที่มีความพร้อมด้านวัตถุดิบและบุคลากรด้วยแล้ว กลับยิ่งได้รับการสนับสนุนในเรื่องอาหารฮาลาล อย่างเต็มที่ ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังในเรื่องการส่งอาหารเหล่านั้นออกไปสู่ตลาดโลกมุสลิมที่ โดยส่วนใหญ่เป็นประเทศที่ไม่มีศักยภาพในการผลิตอาหาร เช่น ประเทศในกลุ่มตะวันออกกลาง


หลายประเทศในเอเชียมีการส่งเสริมเรื่อง การผลิตอาหารฮาลาลอย่างจริงจังเพื่อการส่งออก เช่น ประเทศไทย เพราะมีความพร้อมในทุกๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ แรงงาน ประสบการณ์ และที่สำคัญมีองค์กรศาสนาอิสลามที่เข้มแข็งเป็นที่ยอมรับจากประเทศมุสลิม ทั่วโลก ความพร้อมจากองค์ประกอบเหล่านี้ทำให้รัฐบาลมีนโยบายที่จะส่งเสริมกิจการฮาลา ลเพื่อผลประโยชน์จากการส่งออก ผลิตภัณฑ์ฮาลาลไปสู่ตลาดโลกมุสลิมและประเทศอื่นๆ


ความร่วมมือระหว่าง ภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรศาสนาที่รับผิดชอบ ต่างร่วมกันทุ่มเทเพื่อให้กิจการฮาลาลของประเทศไทยภายใต้เครื่องหมายคำว่าฮา ลาลในกรอบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนเป็นที่ยอมรับทั่วโลก เพียงเวลาไม่ถึง 5 ปี ที่มีการร่วมมือกันอย่างจริงจังได้ปรากฏความสำเร็จเป็นรูปธรรมในวงกว้าง เครื่องหมายรับรองฮาลาลของประเทศไทยได้รับการยอมรับ จากการแข่งขันกับประเทศที่ส่งเสริมกิจการฮาลาลอย่างมาเลเซีย หรืออินโดนีเซียกลายเป็นความร่วมมือ เพราะ ต่างก็เล็งเห็นแล้วว่าตลาดผลิตภัณฑ์ฮาลาลยังมีอีกมากมายที่เรายังก้าวไปไม่ ถึง



ความเข้มงวดต่อผู้ผลิตอาหารฮาลาลในประเทศไทยกลายเป็นจุดแข็งทำ ให้เป็นที่ยอมรับ เนื่องจากผู้ผลิต 90 กว่าเปอร์เซ็นต์ไม่ใช่มุสลิม กระบวนการทุกขั้นตอนของการตรวจสอบ ทั้งที่มาของวัตถุดิบ ส่วนผสม การผลิต การจัดเก็บ จัดส่ง และการจำหน่าย จึงต้องได้รับการตรวจสอบและควบคุมเพื่อให้มั่นใจว่าทั้งกระบวนการฮาลาลอย่าง แน่นอน


ความเข้มงวดเหล่านี้ไม่ปรากฏในประเทศ มุสลิม และไม่มีความจำเป็นสำหรับกระบวนการ เหล่านี้ในประเทศมุสลิม


ดัง นั้นผลิตภัณฑ์บางชนิดบางประเภทที่มีเครื่องหมายฮาลาลที่ถูกส่งไปจำหน่ายใน ประเทศมุสลิมจากประเทศไทยหรือมาเลเซียจึงไม่ได้รับความนิยมหรือความเชื่อ มั่นจากผู้บริโภคในประเทศมุสลิมบางประเทศโดยเฉพาะ อย่างยิ่งแถวตะวันออกกลางและทวีปแอฟริกา ด้วยเหตุผลว่าการตรวจสอบรับรองฮาลาลน่าจะมีขึ้นกับเฉพาะอาหารประเภทที่ต้อง มาจากเนื้อสัตว์ ที่ต้องมีกระบวนการเชือดเท่านั้น ส่วนผลิตภัณฑ์ประเภทอื่นๆ เช่น สัตว์น้ำ ขนม พืชผักการเกษตร ของเหล่านี้ฮาลาลในตัวของมันเองอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องมีการตรวจสอบและมี เครื่องหมายรับรองฮาลาล


นี่คือความรู้สึกและความเข้าใจของกลุ่มคนที่ อยู่ในประเทศมุสลิม เพราะเขาเข้าใจว่า การดำเนินการทั้งระบบตั้งแต่เริ่มต้นการผลิตไปจนถึงการจำหน่าย เป็นไปตามกฎข้อบังคับของศาสนาอิสลามเพราะเขานำไปเปรียบเทียบกับการดำเนินการ ที่มีอยู่ในประเทศของเขา ที่ทั้งผู้ผลิตและผู้ดำเนินการเป็นมุสลิม กระบวนการต่างๆมีหลักการศาสนาอิสลามเป็นตัวกำหนดควบคุมอยู่


ผู้ บริโภคในประเทศเหล่านี้แทบไม่คำนึงถึงการปนเปื้อนจากกระบวนการผลิตเลย จากการที่ผู้ผลิตที่ไม่ใช่มุสลิมไปสัมผัสสิ่งต้องห้ามแล้วมาสัมผัสผลิตภัณฑ์ หรือการปนเปื้อนของภาชนะที่ใส่ของต้องห้าม การปนเปื้อนของส่วนผสมต้องห้ามอื่นๆ เหล่านี้เป็นเรื่องที่ยังไม่เข้าใจกันและไม่ปรากฏในประเทศของเขา

ปัญหา เหล่านี้ดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อยแต่ที่ผ่านมาทำให้การตลาดของกิจการฮาลา ลไทยมีปัญหา ภาครัฐเองที่ไปดำเนินการติดต่อเผยแพร่ในประเทศมุสลิมก็ไม่เข้าใจ เมื่อเกิดปัญหาและมีคำถามขึ้นก็อธิบายไม่ได้เพราะไม่ใช่ผู้ควบคุมและไม่มี ความเข้าใจในประเด็นเหล่านี้ แต่ในระยะหลังรัฐบาลเริ่มทำงานแบบบูรณาการมีการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ กับองค์กรศาสนาซึ่งสามารถอธิบายเรื่องเหล่านี้ให้ประเทศคู่ค้าเหล่านั้นเข้า ใจได้เป็นอย่างดีและสามารถสร้างความเชื่อมั่นได้อย่างรวดเร็ว


ในระยะ แรกภาครัฐหรือผู้ประสานงานคิดว่าปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นเฉพาะกับประเทศไทย บางครั้งคิดไปถึงว่าเครื่องหมายฮาลาลของไทยไม่ได้รับความเชื่อถือ ต้องเป็นของประเทศมาเลเซียเท่านั้น เพราะเห็นว่าของมาเลเซียไม่ค่อยมีปัญหาแต่ความจริงแล้วไม่ใช่เช่นนั้น เพราะมาเลเซียเองก็เคยประสบปัญหาเช่นเดียวกับประเทศไทยเช่นกัน แต่คนของรัฐหรือผู้ประสานงานของมาเลเซียส่วนใหญ่เป็นมุสลิม และเข้าใจในเรื่องนี้จึงสามารถอธิบายและสร้างความกระจ่างได้ ส่วนของไทยในอดีตทำกันแบบขอไปทีและไม่ให้ความสำคัญกับหลักการศาสนาซึ่งเป็น หัวใจของกิจการฮาลาล จึงทำให้เสียโอกาสและเสียเวลาไปหลายปี

0 comments:

Post a Comment